[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

  

บทความทั่วไป
• ใครที่อยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ปวดเมื่อยแล้วนวดไม่หาย ต้องอ่านเรื่องนี้

อังคาร ที่ 3 เดือน กันยายน พ.ศ.2556

คะแนน vote : 77  

 เชื่อว่าหลายๆ คนในที่นี้คงเคยเจออาการปวดเมื่อย หรือหลายต่อหลายครั้งที่นวดแล้วไม่หาย อย่างมากก็แค่พอผ่อนคลายบ้าง

 

แน่นนอนว่า สาเหตุหลักๆ น่าจะมาจากการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน

 

บางคนก็ปวดเมื่อยแบบไม่รู้ตัว หรือไม่ทราบสาเหตุว่า แท้จริงแล้วอาการปวดเมื่อโดยเฉพาะ คอ ไหล่ หลัง เกิดขึ้นจากสาเหตุใด

 

แล้วควรจะทำอย่างไรดี! จึงเป็นคำถามที่น่าสนใจ

 

จะมีวิธีไหนบ้างล่ะ? ที่จะทำให้หายจากอาการปวดเมื่อย

 

ใช่แล้ว คำตอบที่ได้ก็คือถ้าไม่ไปพบแพทย์ ก็ไปใช้บริการนวดแผนโบราณ

 

แต่วิธีการหนึ่งที่จะมานำเสนอ เผื่อใครจะหายจากอาการปวดเมื่อยได้บ้าง

 

วิธีการที่ว่าก็คือ "นวดตอกเส้นเพื่อสุขภาพ"

 

พอได้ยินชื่อ "นวดตอกเส้น" เชื่อว่า หลายคนคงเกิดอาการ "งง" ไม่น้อย

 

เพราะแค่ชื่อก็น่าตกใจ แล้ววิธีการจะขนาดไหน

 

ก่อนอื่นต้องไปรู้จัก "นวดตอกเส้น" ก่อน... "ตอกเส้น" คือการใช้ค้อน ตอกลิ่มลงบนผิวหนังบริเวณกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อย

 

"นวดตอกเส้น" เป็นศาสตร์หนึ่งของการนวดพื้นบ้าน เป็นองค์ความรู้ของหมอพื้นบ้านจ.ลำพูน ที่สืบทอดกันมา ซึ่งพ่อครูดาว พรหมณะ เป็นคนผู้สืบทอด ก่อนที่ "นวดตอกเส้น" จะหายไปจากภูมิปัญญาแบบล้านนา

 

จากหลักฐานที่ปรากฎ "นวดตอกเส้น" มีมานานกว่า 700 ปี แล้ว แต่สมัยก่อนจะใช้งาช้างเป็นอุปกรณ์หลัก

 

มากกว่านั้น ต้องสืบทอดกันในเครือญาติ หรือต้องอาศัยทักษะควบคู่ไปกับคาถาอาคมตามแบบฉบับล้านนา

 

"แม่ครูแมว" อรุณศรี ละม่อมพร้อม ลูกสาวคนที่ 9 ของพ่อครูดาว ถือเป็นคนหนึ่งที่สืบทอดศิลปะการรักษาแบบ "นวดตอกเส้น"

 

แม่ครูแมว เล่าวว่า การนวดตอกเส้น เกิดขึ้นจากพ่อครูดาวได้ออกไปรักษาผู้คนตามที่ต่างๆ เมื่อเกิดอาการปวดเมื่อยร่างกาย โดยจะใช้งาช้างแหก (ลูบตามจุดที่ปวดเมื่อย)

 

ขณะเดียวกัน เมื่อเอางาช้างมาวางบนจุดที่ปวดเมื่อตามร่างกาย แล้วใช้ค้อนทุบ ปรากฎว่าอาการปวดเบาลงหรือดีขึ้น จึงใช้วิธีการดังกล่าวสืบทอดเรื่อยมา

 

บางคนนำมาประยุกต์ใช้กับการนวด ขณะที่แม่ครูแมว นำมาศึกษาเพิ่มเติมประกอบกับการใช้เทคนิคต่างๆ ผสมเข้าไป พร้อมๆ กับการนำประสบการณ์ การเรียนรู้จากแหล่งอื่นมาผสมผสานกันจนลงตัว จนเป็นที่ยอมรับและแผ่ขยายออกไป

 

"นวดตอกเล้น" ถือเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์แผนไทย ทำให้แม่ครูแมว ถูกรับเชิญให้มาเป็นวิทยากร เพื่อบรรยายและสอนนวดตอกเล้น ให้กับผู้ที่สนใจศึกษา ในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

นอกจากนี้ ยังรับสอนอยู่ที่บ้าน หรือสำนักตอกเส้นบ้านพ่อครูดาว ต.เหมืองแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

 

อนึ่ง เพื่อเป็นการรักษาภูมิปัญญาพื้นบ้านเอาไว้ และต้องการให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะชาวต่างชาติ

 

"นวดตอกเล้น" จะใช้เวลา 2 ชั่วโมง ตามจุดต่างๆ ของร่างกาย เพราะการตอกถือเป็นเครื่องทุนแรงอย่างหนึ่ง แม้ไม่ต่างจากการนวด แต่ "นวดตอกเล้น" จะให้เส้นเอ็นคลายตัวได้ดีกว่า

 

ทั้งนี้ แรงสั่นสะเทือนจะแผ่ซ่านลงไปยังกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกๆ ทำให้รู้สึกว่าปลายประสาทถูกกระตุ้นทันที

 

โดยเฉพาะพังผืดที่เกาะอยู่ตามเส้นเลือดก็จะสลายตามไปด้วย เพราะการที่ค้อนกระทบลิ่มถือเป็นคลื่นเสียงอย่าง

หนึ่ง

 

โรคที่สามารถรักษาด้วยการ "นวดตอกเล้น" เช่น โรคเส้นเอ็น ปวดตามกล้ามเนื้อ ข้อ กระดูกทับเส้น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือวิงเวียนศีรษะ นอนไม่หลับ เป็นต้น

 

ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้นั้น แน่นอนว่าจะต้องมีค้อน ตามมาด้วยลิ่มตอก (เดิมเป็นงาช้าง) แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนมาใช้ไม้เนื้อแข็ง (พยุง ประดู่ มะค่า)

 

 

คำถามที่ตามก็คือ ตอกเส้นแล้วจะเจ็บหรือไม่ จะทำให้พิการหรือเปล่า หรือต้องระวังอะไรบ้าง? ...

 

แน่นอนว่าอันตรายอาจจะเกิดตามมาแน่นอนหากไม่มีทักษะ หรือทำแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะการ "นวดตอกเล้น" ต้องรู้จุดว่า จุดไหนถึงจะลงน้ำหนักแรงหรือเบา จุดไหนห้ามตอก

 

เนื่องจากคนที่จะทำได้ต้องผ่านการเรียนหรืออบรมอย่างน้อย 30 ชั่วโมง

 

ขณะเดียวกัน คนที่จะนวดต้องซักประวัติว่าจะสามารถรักษาด้วยการ "นวดตอกเล้น" ได้หรือไม่ อีกทั้ง ต้องบูชาขันครู เพราะภูมิปัญญาชาวบ้านมักจะเกิดจากความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์

 

นอกจากนี้ การนวดต้องใช้น้ำมันงาหรือไพร พร้อมๆ กับการประเมินของผู้ที่ทำการรักษาควบคู่ไปด้วย

 

พอมาถึงตรงนี้ หลายๆ คนคงอ๋อ หรือเคยเห็นมาบ้างแต่ยังไม่กล้าลอง เพราะ "นวดตอกเล้น" อาจจะเป็นที่แพร่หลาย ผู้ที่มาใช้บริการส่วนใหญ่ต่างประทับใจ จนต้องต่อคิวเพื่อเข้ารับการรักษา

 

อย่างไรก็ตาม คนที่จะเข้ารับการตอกเส้นได้นั้น ยังมีข้อห้ามหลายๆ อย่างอีกด้วย โรคหัวใจ โรคประสาท โรคความดันโลหิตสูง เป็นไข้ บริเวณแผลที่เป็นมะเร็ง บริเวรที่อักเสบ บวม แดง เป็นต้น เพราะโรคหรืออาการเหล่านี้อาจจะทำให้อาการกำเริบได้

 

พร้อมๆ กับการบริหารร่างกายในท่าที่เหมาะสม การงดรับประทานอาหารประเภทหมักดอง ของทะเล เป็นต้น

 

มากกว่านั้น แม่ครูดาว ยังบอกอีกว่า "นวดตอกเล้น" ไม่ใช่เป็นการรักษาให้หายขาดได้ แต่จะเป็นการนวดเพื่อสุขภาพ และทำให้อาการปวดเมื่อยที่เป็นอยู่ เป็นไปในลักษณะที่ดีขึ้น

 

ขณะเดียวกัน การตอกเส้นจะมีประโยชน์ในแง่ของการปรับกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งให้นุ่มลง หรือปรับสมดุลของร่างกาย ทำให้เลือดลมเดินได้สะดวก ลดอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อีกทั้ง เป็นการสลายพังผืด หรือเนื้อเยื่อเหนียวบางๆ ที่อยู่ใต้ผิวหนัง เกาะอยู่ในเส้นเลือด

 

 

.................................


แม่ครูแมว อรุณศรี ละม่อมพร้อม

 

ได้รับการถ่ายทอดวิชานวดตอกเส้นด้วยงาช้าง และตัวแม่ครูแมวได้เรียนรู้โรคปวดต่างๆ มานานนับ 10 ปี เช่น ไมเกรน ปวดหัว ต้นคอ บ่าไหล่ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งอาการเหล่านี้ แม่ครูแมวบอกว่า เรียนรู้ด้วยตัวเองทั้งสิ้น ก่อนจะเรียนรู้วิธีแก้ด้วยการตอกเส้น และแก้อาการได้อย่างรวดเร็ว


พอมาทำหน้าที่หมอตอกเส้นระยะหนึ่ง ได้นึกถึงวิธีการทำงาน โดยต่อยอดจากคุณพ่อในอดีต แล้วนำมาผสมผสานกับประสบการณ์ที่เคยเรียนรู้ ก่อนจะถ่ายทอดประสบการณ์ที่มีอยู่ให้กับลูกศิษย์และผู้ที่สนใจเรียน


ขณะที่สำนักตอกเส้นบ้านพ่อครูดาวเอง ก็มีคนมาใช้บริการ หรือมาขอความรู้อย่างไม่ขาดสาย โดยแม่ครูดาวได้เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง "นวดตอกเส้น" ที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่มาแล้ว 8 ครั้ง และกำลังจะเปิดรุ่นที่ 9 เร็วๆ นี้

 

ซึ่งทั้งหมดที่ถ่ายทอดมาสู่รุ่นต่อรุ่นนอกจากจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยแล้ว ยังเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญหาชาวบ้านให้คงไว้สืบไป



เข้าชม : 1171


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      ระวัง! ยาทาให้ผิวขาว อันตราย-ขาลาย 14 / ม.ค. / 2557
      เตือนขับรถ เสี่ยงมะเร็งผิวหนัง 14 / ม.ค. / 2557
      อดนอนทั้งคืน ทำสมองเสียหาย 8 / ม.ค. / 2557
      วิธีง่ายๆ ที่ทำให้ ชีวิตมีความสุข 8 / ม.ค. / 2557
      ร่างกาย-รถ-อุปกรณ์พร้อม...เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง 28 / ธ.ค. / 2556


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอองครักษ์
ถนนหน้าอำเภอ ตำบลองครักษ์  อำเภอองครักษ์  จังหวัดนครนายก โทรศัพท์ 0-3739-1895  โทรสาร 0-3739-1878  

ksnongkharak_ny@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04    Webmaster