[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

  

บทความทั่วไป
ระวัง \"เห็ดป่าพิษ\" อันตราย แมลงกินได้ก็ไม่ปลอดภัย

อังคาร ที่ 24 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2556

คะแนน vote : 85  

ระวัง "เห็ดป่าพิษ" อันตราย แมลงกินได้ก็ไม่ปลอดภัย

กระทรวงสาธารณสุขเป็นห่วงประชาชน หน้าฝนนี้เกือบตายเพราะเห็ดพิษมาแล้ว 600 ราย เตือนแม้เจอรอยแมลงกินก็ไม่ปลอดภัย ชี้ระโงกหินสุดอันตราย ไม่มั่นใจ พบเห็ดแปลก ไม่อยากตายอย่ากิน

นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นห่วงประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่นิยมบริโภคเห็ดป่า ซึ่งจะขึ้นชุกมากในฤดูฝนทุกปี เห็ดที่ขึ้นตามธรรมชาติในป่า มีทั้งชนิดกินได้ ประชาชนรู้จัก และบางชนิดเป็นเห็ดมีพิษ แต่มีลักษณะใกล้เคียงกับเห็ดที่กินได้ ทำให้เข้าใจผิดได้บ่อยและนำมารับประทานจนเกิดอันตรายถึงชีวิต แม้ว่า สธ.ได้ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อให้เลือกบริโภคเห็ดป่าที่ปลอดภัย แต่ก็ยังพบปัญหาทุกปี

"ปี 2556 นี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-17 กรกฎาคม สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานทั่วประเทศมีผู้ป่วยกินเห็ดพิษ เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 649 ราย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากอันดับ 1 จำนวน 328 ราย รองลงมาคือภาคเหนือ 213 ราย ภาคกลาง 67 ราย และภาคใต้ 41 ราย เสียชีวิต 3 ราย" ปลัด สธ.กล่าว

นพ.ณรงค์กล่าวว่า เห็ดที่ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตนำมากิน ที่พบบ่อยที่สุดคือ เห็ดไข่หิน และเห็ดระโงกหิน อยู่ในกลุ่มเดียวกับเห็ดไข่ห่านที่นิยมกินในภาคเหนือ ชาวบ้านเรียกได้หลายชื่อ เช่น เห็ดไข่ห่าน เห็ดไข่เหลือง เห็ดโม่งโก้ง และเห็ดระโงกที่นิยมกินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเห็ดที่มีพิษ 2 ชนิด ชาวบ้านจะเรียกว่าเห็ดระโงกหิน เห็ดระงาก หรือเห็ดสะงาก เห็ดระโงกตีนตัน เห็ดไข่ตายซาก หรือตายฮาก เห็ดไส้เดือน และเห็ดขี้ไก่เดือน

เห็ดพิษนี้ จะมีลักษณะดอก สี จะเหมือนเห็ดที่ชาวบ้านรู้จักและกินได้ แต่ในขณะที่เห็ดยังเป็นดอกอ่อน ดอกตูม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นก้อนกลมรีคล้ายไข่จะเหมือนกันมาก ดังนั้น จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการกินเห็ดระโงกที่ยังเป็นดอกอ่อน ดอกตูม หรือขณะยังเป็นก้อนกลมรีคล้ายไข่ เพราะแยกได้ยากว่าเป็นเห็ดพิษหรือไม่มีพิษ

นพ.ภาสกรกล่าวว่า วิธีการทดสอบเห็ดพิษตามแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ประชาชนมักปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อแยกชนิดระหว่างเห็ดที่กินได้และเห็ดพิษ เช่น การนำเห็ดไปต้มพร้อมกับข้าวสาร แล้วข้าวสารไม่ดำ หรือต้มเห็ดพร้อมกับช้อนเงิน แล้วช้อนเงินไม่เปลี่ยนสี ไม่สามารถนำมาใช้ทดสอบกับเห็ดป่ากลุ่มเห็ดระโงกหินได้ รวมทั้งการเก็บเห็ดที่เกิดในที่เดิมๆ ที่เคยเก็บมากิน หรือเห็ดที่มีรอยแมลงกัดกินก็ไม่ได้แสดงว่าปลอดภัย

ส่วนวิธีการช่วยชีวิตเบื้องต้นขอให้ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาให้มากที่สุด เพื่อให้พิษออกจากร่างกายมากที่สุด และรีบนำส่งโรงพยาบาล

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ



เข้าชม : 592


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      ระวัง! ยาทาให้ผิวขาว อันตราย-ขาลาย 14 / ม.ค. / 2557
      เตือนขับรถ เสี่ยงมะเร็งผิวหนัง 14 / ม.ค. / 2557
      อดนอนทั้งคืน ทำสมองเสียหาย 8 / ม.ค. / 2557
      วิธีง่ายๆ ที่ทำให้ ชีวิตมีความสุข 8 / ม.ค. / 2557
      ร่างกาย-รถ-อุปกรณ์พร้อม...เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง 28 / ธ.ค. / 2556


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอองครักษ์
ถนนหน้าอำเภอ ตำบลองครักษ์  อำเภอองครักษ์  จังหวัดนครนายก โทรศัพท์ 0-3739-1895  โทรสาร 0-3739-1878  

ksnongkharak_ny@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04    Webmaster