[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ

อังคาร ที่ 24 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2555


                                      กลุ่มอาชีพพาณิชยกรรมและบริการ                                           
หลักสูตรการนวดไทยเพื่อสุขภาพ จำนวน 170 ชั่วโมง
.....................................................................................................................................................................
ความเป็นมา
          การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้ มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ 2555 ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี ที่จะพัฒนา 5 ศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก” ตลอดจนกำหนดภารกิจที่จะยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ ที่มั่นคง  โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประชาชนมีรายได้มั่นคง มั่งคั่ง และมีงานทำอย่างยั่งยืน มีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากล ซึ่งจะเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ.
          สภาพสังคมปัจจุบันมนุษย์เราได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่นด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้ไปอย่างรวดเร็ว และไม่เพียงพอกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกมุมโลก มนุษย์จึงประสบปัญหาต่างๆตามมามากมาย โดยเฉพาะด้านการดำรงชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน นอกจากจะมีการประกอบอาชีพเพื่อเป็นการเลี้ยงตัวเองและครอบครัวแล้ว ยังมีสิ่งที่ถือว่าเป็นภาระหนักคืออาหารเพื่อบริโภคประจำวัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์เราจะต้องสร้างขึ้นหรือหามาทดแทนโดยวิธีการต่างๆ เพื่อการอยู่รอด
           จากการสำรวจความต้องการของคนในชุมชน กลุ่ม อสม กลุ่มผู้สูงอายุ ระหว่างสำรวจเก็บข้อมูล และในการลงพื้นที่ทำประชาคมหมู่บ้าน ปรากฎว่ามีผู้ให้ความสนใจวิชาการนวดไทย ส่วนหนึ่ง และอีกหลายๆอาชีพ
           อาชีพการการนวดแผนไทยเป็นอาชีพหนึ่งในการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการนวดไทยให้เป็นอาชีพที่สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศและสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและประเทศได้อีกทางหนึ่ง เป็นอาชีพที่ไม่ต้องลงทุนเยอะ ลงแรงอย่างเดียวก็สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองได้
 
หลักการของหลักสูตร
การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำ กำหนดหลักการไว้ดังนี้
                   1. เป็นหลักสูตรที่เน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ 5 ด้าน ของตำบลป่าขะ ได้แก่ ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพภูมิประเทศและทำเลที่ตั้ง ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวตำบลป่าขะและศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์เป็นต้น
                   2. มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมี
คุณภาพทั่วถึงและเท่าเทียมกัน สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง และเป็นบุคคลที่มีวินัยเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
3.       ส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
                   4.   เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปประกอบอาชีพให้เกิดรายได้ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในอาชีพส่งเสริมให้มีการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 
จุดหมาย
          หลักสูตรการประกอบอาชีพการนวดเพื่อสุขภาพแบบเชลยศักดิ์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านนา มีจุดหมายดังต่อไปนี้
1. กลุ่มเป้าหมายสามารถประกอบอาชีพและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับตนเอง
2. กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับศักยภาพตนเอง ชุมชน และสังคม
3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การบริหารจัดการในอาชีพ
4. กลุ่มเป้าหมายมีโครงการประกอบอาชีพเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไปได้
5. กลุ่มเป้าหมายมีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
 
กลุ่มเป้าหมาย
          กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนกลุ่มเป้าหมายนอกระบบโรงเรียน
          1. ผู้ที่ไม่มีอาชีพ
          2. ผู้ที่มีอาชีพและต้องการพัฒนาอาชีพ
 
ระยะเวลา
          จำนวน 170 ชั่วโมง
 
โครงสร้างหลักสูตร       
เรื่องที่ 1 ช่องทางการประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ      จำนวน 5 ชั่วโมง
          1.1 ความสำคัญในการประกอบอาชีพ                                    จำนวน 1 ชั่วโมง
           1.2  ความเป็นไปได้ในการะกอบอาชีพ                                  จำนวน 1 ชั่วโมง
           1.3  แหล่งการเรียนรู้การประกอบอาชีพ                                จำนวน  1 ชั่วโมง
           1.4  ทิศทางพัฒนาการประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ          จำนวน  2 ชั่วโมง
 
เรื่องที่ 2 ทักษะการประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ        จำนวน 150 ชั่วโมง
           2.1 หมวดวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ                                           จำนวน 10 ชั่วโมง
                กายวิภาคศาสตร์ และสรีระวิทยา เบื้องต้น
                 -การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
                 -สุขภาพจิตพื้นฐาน
                 -ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยา
           
            2.2หมวดการแพทย์แผนไทย                                                  จำนวน 10 ชั่วโมง
                -ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยเบื้องต้น
                -สมุนไพรเบื้องต้นเกี่ยวกับสาธารณสุขมูลฐาน
                -เวชกรรมไทยเบื้องต้น
                -กายบริหารแบบไทยฤาษีดัดตนพื้นฐาน
 
            2.3หมวดวิชาการนวดไทย                                                    จำนวน 10 ชั่วโมง
                -ประวัติ องค์ความรู้และการประยุกต์ใช้การนวดไทย
                -เส้นประธานสิบกับการเกิดโรค
                -การนวดไทยพื้นฐาน
                -การนวดไทยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
                -การนวดเพื่อการผ่อนคลาย แก้ไขอาการปวดเมื่อยทั่วไป
                -คุณธรรม จริยธรรม ข้อห้าม และข้อควรระวังในการนวด
            2.4ฝึกปฏิบัติการนวดเพื่อสุขภาพแบบเชลยศักดิ์                           จำนวน 120 ชั่วโมง
 
เรื่องที่ 3 การบริหารจัดการในการประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ      จำนวน 5 ชั่วโมง
           3.1 การเลือกทำเลที่ตั้งและสถานที่ประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ  
           3.2 การจัดและตกแต่งสถานที่การนวดไทยเพื่อสุขภาพ                           
          3.3 การกำหนดราคาต้นทุนและการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน                         
          3.4 การจัดการตลาดและการบริการการนวดไทยเพื่อสุขภาพ                
          3.5 การประชาสัมพันธ์                                                       
          3.6 การทำบัญชีอย่างง่ายและประโยชน์ของการทำบัญชีอย่างง่าย        
            3.7 การจัดการความเสี่ยงในการประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ         
 
เรื่องที่ 4  โครงการประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ                      จำนวน 10 ชั่วโมง       
          4.1 การเขียนโครงการและเขียนแผนธุรกิจการประกอบอาชีพ
                การนวดไทยเพื่อสุขภาพเพื่อนำไปสู่ การปฏิบัติจริง                    จำนวน 5 ชั่วโมง
          4.2 การตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินโครงการ
                ปรับปรุงโครงการอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ                        จำนวน 5 ชั่วโมง
 
การจัดกระบวนการเรียนรู้
-                   ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร /ภูมิปัญญา
-                   การศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้
-                   แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-                   ฝึกปฏิบัติจริง
 
สื่อการเรียนรู้
          ในการจัดการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคล ภูมิ
ปัญญา แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น
 
 
การวัดและประเมินผล
1.       การประเมินความรู้ภาคทฤษฎีระหว่างเรียนและจบหลักสูตร
2.       การประเมินผลงานระหว่างเรียนจากการปฏิบัติ ได้ผลงานที่มีคุณภาพสามารถสร้างรายได้ และ
                จบหลักสูตร
 
การจบหลักสูตร
1.             มีเวลาเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2.             มีผลการประเมินตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
3.             มีผลงานที่มีคุณภาพ
 
เอกสารหลักฐานการศึกษา
1.       หลักฐานการประเมินผล
2.       ทะเบียนคุมวุฒิบัตร
3.       วุฒิบัตร ออกโดยสถานศึกษา
 
การเทียบโอน
          ผู้เรียนที่จบหลักสูตรนี้สามารถนำไปเทียบโอนผลการเรียนรู้กับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551   ในสาระการประกอบอาชีพวิชาเลือกที่สถานศึกษาได้จัดทำขึ้น
 
 
 
 
 
 
 
 
หลักการของหลักสูตร
การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำ กำหนดหลักการไว้ดังนี้
                   1. เป็นหลักสูตรที่เน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ 5 ด้าน ของตำบลป่าขะ ได้แก่ ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพภูมิประเทศและทำเลที่ตั้ง ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวตำบลป่าขะและศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์เป็นต้น
                   2. มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมี
คุณภาพทั่วถึงและเท่าเทียมกัน สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง และเป็นบุคคลที่มีวินัยเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
3.       ส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
                   4.   เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปประกอบอาชีพให้เกิดรายได้ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในอาชีพส่งเสริมให้มีการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 
จุดหมาย
          หลักสูตรการประกอบอาชีพการนวดเพื่อสุขภาพแบบเชลยศักดิ์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านนา มีจุดหมายดังต่อไปนี้
1. กลุ่มเป้าหมายสามารถประกอบอาชีพและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับตนเอง
2. กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับศักยภาพตนเอง ชุมชน และสังคม
3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การบริหารจัดการในอาชีพ
4. กลุ่มเป้าหมายมีโครงการประกอบอาชีพเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไปได้
5. กลุ่มเป้าหมายมีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
 
กลุ่มเป้าหมาย
          กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนกลุ่มเป้าหมายนอกระบบโรงเรียน
          1. ผู้ที่ไม่มีอาชีพ
          2. ผู้ที่มีอาชีพและต้องการพัฒนาอาชีพ
 
ระยะเวลา
          จำนวน 170 ชั่วโมง
 
โครงสร้างหลักสูตร       
เรื่องที่ 1 ช่องทางการประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ      จำนวน 5 ชั่วโมง
          1.1 ความสำคัญในการประกอบอาชีพ                                    จำนวน 1 ชั่วโมง
           1.2  ความเป็นไปได้ในการะกอบอาชีพ                                  จำนวน 1 ชั่วโมง
           1.3  แหล่งการเรียนรู้การประกอบอาชีพ                                จำนวน  1 ชั่วโมง
           1.4  ทิศทางพัฒนาการประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ          จำนวน  2 ชั่วโมง
 
เรื่องที่ 2 ทักษะการประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ        จำนวน 150 ชั่วโมง
           2.1 หมวดวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ                                           จำนวน 10 ชั่วโมง
                กายวิภาคศาสตร์ และสรีระวิทยา เบื้องต้น
                 -การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
                 -สุขภาพจิตพื้นฐาน
                 -ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยา
           
            2.2หมวดการแพทย์แผนไทย                                                  จำนวน 10 ชั่วโมง
                -ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยเบื้องต้น
                -สมุนไพรเบื้องต้นเกี่ยวกับสาธารณสุขมูลฐาน
                -เวชกรรมไทยเบื้องต้น
                -กายบริหารแบบไทยฤาษีดัดตนพื้นฐาน
 
            2.3หมวดวิชาการนวดไทย                                                    จำนวน 10 ชั่วโมง
                -ประวัติ องค์ความรู้และการประยุกต์ใช้การนวดไทย
                -เส้นประธานสิบกับการเกิดโรค
                -การนวดไทยพื้นฐาน
                -การนวดไทยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
                -การนวดเพื่อการผ่อนคลาย แก้ไขอาการปวดเมื่อยทั่วไป
                -คุณธรรม จริยธรรม ข้อห้าม และข้อควรระวังในการนวด
            2.4ฝึกปฏิบัติการนวดเพื่อสุขภาพแบบเชลยศักดิ์                           จำนวน 120 ชั่วโมง
 
เรื่องที่ 3 การบริหารจัดการในการประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ      จำนวน 5 ชั่วโมง
           3.1 การเลือกทำเลที่ตั้งและสถานที่ประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ  
           3.2 การจัดและตกแต่งสถานที่การนวดไทยเพื่อสุขภาพ                           
          3.3 การกำหนดราคาต้นทุนและการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน                         
          3.4 การจัดการตลาดและการบริการการนวดไทยเพื่อสุขภาพ                
          3.5 การประชาสัมพันธ์                                                       
          3.6 การทำบัญชีอย่างง่ายและประโยชน์ของการทำบัญชีอย่างง่าย        
            3.7 การจัดการความเสี่ยงในการประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ         
 
เรื่องที่ 4  โครงการประกอบอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ                      จำนวน 10 ชั่วโมง       
          4.1 การเขียนโครงการและเขียนแผนธุรกิจการประกอบอาชีพ
                การนวดไทยเพื่อสุขภาพเพื่อนำไปสู่ การปฏิบัติจริง                    จำนวน 5 ชั่วโมง
          4.2 การตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินโครงการ
                ปรับปรุงโครงการอาชีพการนวดไทยเพื่อสุขภาพ                        จำนวน 5 ชั่วโมง
 
การจัดกระบวนการเรียนรู้
-                   ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร /ภูมิปัญญา
-                   การศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้
-                   แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-                   ฝึกปฏิบัติจริง
 
สื่อการเรียนรู้
          ในการจัดการเรียนรู้ ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคล ภูมิ
ปัญญา แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น
 
 
การวัดและประเมินผล
1.       การประเมินความรู้ภาคทฤษฎีระหว่างเรียนและจบหลักสูตร
2.       การประเมินผลงานระหว่างเรียนจากการปฏิบัติ ได้ผลงานที่มีคุณภาพสามารถสร้างรายได้ และ
                จบหลักสูตร
 
การจบหลักสูตร
1.             มีเวลาเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2.             มีผลการประเมินตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
3.             มีผลงานที่มีคุณภาพ
 
เอกสารหลักฐานการศึกษา
1.       หลักฐานการประเมินผล
2.       ทะเบียนคุมวุฒิบัตร
3.       วุฒิบัตร ออกโดยสถานศึกษา
 
การเทียบโอน
          ผู้เรียนที่จบหลักสูตรนี้สามารถนำไปเทียบโอนผลการเรียนรู้กับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551   ในสาระการประกอบอาชีพวิชาเลือกที่สถานศึกษาได้จัดทำขึ้น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


เข้าชม : 824


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      วันต้นไม้แห่งขาติ ปี พ.ศ.2558 27 / พ.ย. / 2558
      กศน.ป่าขะ 1/2556 8 / พ.ค. / 2556
      รับสมัครนักศึกษา ภาคเรียน ที่ 1/2556 17 / เม.ย. / 2556
      กิจกรรม กศน.ตำบลป่าขะ 2/55 30 / ธ.ค. / 2555
      การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ 4 / ส.ค. / 2555


 
กศน.ตำบลป่าขะ  อำเภอบ้านนา  จังหวัดนครนายก
โทรศัพท์ 085-4461471 E-mail : nfe_pakha@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin