[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ

เสาร์ ที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2555


หลักสูตรการประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย

จำนวน  60  ชั่วโมง

                                        กลุ่มวิชาอาชีพเกษตรกรรม

ความเป็นมา

            การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้ มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ 2555 ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี ที่จะพัฒนา 5 ศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลกรู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลกตลอดจนกำหนดภารกิจที่จะยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ ที่มั่นคง  โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประชาชนมีรายได้มั่นคง มั่งคั่ง และมีงานทำอย่างยั่งยืน มีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับสากล ซึ่งจะเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ.

            สภาพสังคมปัจจุบันมนุษย์เราได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่นด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้ไปอย่างรวดเร็ว  และไม่เพียงพอกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกมุมโลก  มนุษย์จึงประสบปัญหาต่างๆตามมามากมาย  โดยเฉพาะด้านการดำรงชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน  นอกจากจะมีการประกอบอาชีพเพื่อเป็นการเลี้ยงตัวเองและครอบครัวแล้ว  ยังมีสิ่งที่ถือว่าเป็นภาระหนักคืออาหารเพื่อบริโภคประจำวัน  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์เราจะต้องสร้างขึ้นหรือหามาทดแทนโดยวิธีการต่างๆ เพื่อการอยู่รอด

            อาชีพการเลี้ยงปลาเป็นอาชีพหนึ่งที่จะเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้โดยการใช้พื้นที่ว่างในครัวเรือนมาทำการขุดบ่อเลี้ยงปลา  และการเลี้ยงปลาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ 

 

หลักการของหลักสูตร

            การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำ  กำหนดหลักการไว้ดังนี้

                        1.  เป็นหลักสูตรที่เน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ 5 ด้าน  ได้แก่ ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ  ศักยภาพภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละประเทศ  ศักยภาพของศิลปะ  วัฒนธรรม  ประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่

                        2.  มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมี

คุณภาพทั่วถึงและเท่าเทียมกัน  สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง  และเป็นบุคคลที่มีวินัยเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม  มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง  ผู้อื่น และสังคม

3.             ส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่าย

                        4.   เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปประกอบอาชีพให้เกิดรายได้ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในอาชีพส่งเสริมให้มีการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

จุดหมาย 

            เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ ในการเลี้ยงปลาดุกอุยเป็นอาชีพได้ อย่างมีคุณธรรม

 

กลุ่มเป้าหมาย

            กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนกลุ่มเป้าหมายนอกระบบโรงเรียน

            1.   ผู้ที่ไม่มีอาชีพ

2.             ผู้ที่มีอาชีพและต้องการพัฒนาอาชีพ

 

ระยะเวลา  จำนวน 60 ชั่วโมง

 

โครงสร้างหลักสูตร

          1.  ช่องทางการประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย              

1.1  ความสำคัญของการประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย 

      1.2 ความเป็นไปได้ในการประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย                      

1.2.1   ความต้องการของตลาด

1.2.2   การใช้แรงงาน

1.2.3   การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์

1.2.4   การเลือกทำเลที่ตั้ง

1.3  แหล่งเรียนรู้                                                                                                    

1.4  ทิศทางการประกอบอาชีพ          

2. ทักษะการประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย                                        

2.1  ขั้นเตรียมการประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย     

2.1.1  สถานที่ / พื้นที่ / บ่อเลี้ยงปลาดุกอุย

2.1.2  การคัดเลือกพันธุ์ปลา

2.1.3  การทำ/จัดหาอาหารปลา

2.1.4  ความรู้ที่เกี่ยวข้องในการประกอบอาชีพการลี้ยงปลาดุกอุย

      2.2  ขั้นเลี้ยงปลาดุกอุยได้                                                     

                  2.3  ขั้นการดูแลรักษาปลาดุกเพื่อจำหน่ายหรือบริโภค                           

3.  การบริหารจัดการในการประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย                              

3.1  การบริหารจัดการเลี้ยงปลาดุกอุย                               

                        3.1.1  การจัดการควบคุมคุณภาพในการเลี้ยงปลาดุกอุย

                        3.1.2  การลดต้นทุนในการเลี้ยงปลาดุกอุย

                                3.1.3  การวางแผนการผลิต

            3.2  การจัดการตลาดในการเลี้ยงปลาดุกอุย                                                          

                        3.2.1  การทำฐานข้อมูลลูกค้า

                        3.2.2  การจำหน่ายปลาดุกไปสู่ผู้บริโภค

                                3.2.3  การวางแผนการตลาด

            3.3  การจัดการความเสี่ยง                                                                                  

                        3.3.1  การวิเคราะห์และควบคุมความเสี่ยง

                              1)  ระยะเวลาที่เลี้ยงกับการจำหน่าย   

                              2)  ขนาดของปลาดุกกับความต้องการของตลาด          

                              3)  ราคาขาย           

                              4)  คู่แข่งขัน

                            3.3.2 การวางแผนการจัดการความเสี่ยง

            3.4  การวางแผนการดำเนินงาน

4.  โครงการประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย                               

            4.1  ความสำคัญของโครงการอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย                              

            4.2  ประโยชน์ของโครงการอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย                                  

            4.3  องค์ประกอบของโครงการอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย      

            4.4  การเขียนโครงการเลี้ยงปลาดุกอุย                                

            4.5  การประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของโครงการเลี้ยงปลาดุกอุย

 

 

 

 

   การจัดกระบวนการเรียนรู้

-                   ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร /ภูมิปัญญา

-                   การศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้

-                   แลกเปลี่ยนเรียนรู้

-                   ฝึกปฏิบัติจริง

 

สื่อการเรียนรู้

            ในการจัดการเรียนรู้  ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย  ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคล  ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น

 

การวัดและประเมินผล

1.             การประเมินความรู้ภาคทฤษฎีระหว่างเรียนและจบหลักสูตร

2.             การประเมินผลงานระหว่างเรียนจากการปฏิบัติ ได้ผลงานที่มีคุณภาพสามารถสร้างรายได้ และ

                    จบหลักสูตร

 

การจบหลักสูตร

1.             มีเวลาเรียน  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

2.             มีผลการประเมินตลอดหลักสูตร  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

3.             มีผลงานที่มีคุณภาพ

 

เอกสารหลักฐานการศึกษา

1.             หลักฐานการประเมินผล

2.             ทะเบียนคุมวุฒิบัตร

3.             วุฒิบัตร  ออกโดยสถานศึกษา

 

การเทียบโอน

            ผู้เรียนที่จบหลักสูตรนี้สามารถนำไปเทียบโอนผลการเรียนรู้กับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551   ในสาระการประกอบอาชีพวิชาเลือกที่สถานศึกษาได้จัดทำขึ้น

 

          

แผนการจัดกิจกรรมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ : กลุ่มผู้มีอาชีพ                                      
กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
: หลักสูตรการเลี้ยงปลาดุก  จำนวน 60 ชั่วโมง

 

ครั้งที่

วัน เดือน ปี /เวลา

วิชา/เรื่อง

สื่อ วัสดุ อุปกรณ์

สถานที่

ผู้ดำเนินการ

 

 

 

1

 

 

27 -28 ก.ค. 55

เช้า 09.00 - 12.00 น.

บ่าย 13.00 - 15.00 น.

            ปฐมนิเทศ

 

1. แผนการจัดกิจกรรมตลอดหลักสูตร
2. แผนการจัดการเรียนรู้ 4 รายวิชา

                กศน.ตำบลป่าขะ

1. ครู กศน. ตำบลป่าขะ

2. ภูมิปัญญา/วิทยากร

 

ช่องทางการประกอบอาชีพ

การเลี้ยงปลาดุกอุย
(ทฤษฎี 3 / ปฏิบัติ  5 ชม. รวม 8 ชม.)

1. ใบความรู้

3. กระดาษบรู๊ฟ ปากกาเคมี

   (สำหรับทำเวทีวิเคราะห์ช่องทางการ 

   ประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย)

 

 

2

29 ก.ค. 55

ถึง

2 ส.ค.55

เช้า 09.00 - 12.00 น.

บ่าย 13.00 - 15.00 น.

ทักษะการประกอบอาชีพ

การเลี้ยงปลาดุกอุย

(ทฤษฎี 3 / ปฏิบัติ 20 ชม. รวม 23 ชม.)

1. แผนการฝึกทักษะการประกอบอาชีพ

2. ใบความรู้

3. วัสดุ อุปกรณ์ ในการฝึกทักษะการ

   ประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย

1. กศน.ตำบลป่าขะ

2. บ้านผู้เรียนรายบุคคล

 

1. ครู กศน. ตำบลป่าขะ

2. ภูมิปัญญา/วิทยากร

 

 

 

3

36  ส.ค. 55

เช้า 09.00 - 12.00 น.

บ่าย 13.00 - 15.00 น.

การบริหารจัดการในการประกอบอาชีพการเลี้ยงปลาดุกอุย

(ทฤษฎี 8 / ปฏิบัติ 9 ชม. รวม 17 ชม.)

1. ใบความรู้

2. กระดาษบรู๊ฟ ปากกาเคมี

   (สำหรับทำเวทีวิเคราะห์การบริหาร
   จัดการในการประกอบอาชีพการเลี้ยง
   ปลาดุกอุย)

                กศน.ตำบลป่าขะ

1. ครู กศน. ตำบลป่าขะ

2. ภูมิปัญญา/วิทยากร

 

 

4

79 ส.ค. 55

เช้า 09.00 - 12.00 น.

บ่าย 13.00 - 15.00 น.

โครงการประกอบอาชีพ

การเลี้ยงปลาดุกอุย

(ทฤษฎี 3 / ปฏิบัติ 9 ชม. รวม 12 ชม.)

1. ใบความรู้

2. แบบฟอร์มเขียนโครงการประกอบ

    อาชีพ

                กศน.ตำบลป่าขะ

1. ครู กศน. ตำบลป่าขะ

2. ภูมิปัญญา/วิทยากร

 


แผนการฝึกทักษะการประกอบอาชีพ

หลักสูตรการเลี้ยงปลาดุก  จำนวน 60 ชั่วโมง

 

วัน เดือน ปี

 

เรื่อง

สื่อ วัสดุ อุปกรณ์

 

สถานที่

 

ผู้ดำเนินการ

29 ก.ค. 55

-การเลี้ยงปลาดุก

-แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ใบความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุก

กศน.ตำบลป่าขะ

   ครูกศน.ตำบล

       วิทยากร

นางพนิดา  กุลบุตร

30 ก.ค. 55

-การเตรียมพื้นที่

-การคัดเลือกพันธุ์ปลา

-การทำ จัดหา อาหาร
 ปลา

 

ใบความรู้

ศึกษาจากสถานที่จริง

 

กศน.ตำบลป่าขะ

แหล่งเรียนรู้ ม.7

ต.ป่าขะ

 

    ครูกศน.ตำบล

       วิทยากร

นางพนิดา  กุลบุตร

31 ก.ค. 55

--การทำแผนฝึกทักษะ
  การเลี้ยงปลาดุก

-การจดบันทึกผลการ
 เรียนรู้

ใบความรู้

แบบบันทึกผลการเรียนรู้

กศน.ตำบลป่าขะ

 

    ครูกศน.ตำบล

       วิทยากร

นางพนิดา  กุลบุตร 

 1 ส.ค. 55

-การดูแลรักษาปลา

-โรคต่างๆที่เกิดกับปลาดุก

ใบความรู้

กศน.ตำบลป่าขะ

 

        วิทยากร

นางพนิดา  กุลบุตร 

2 ส.ค. 55

-ลงมือปฏิบัติจริง

พันธุ์ปลา/อาหาร

บันทึกการเรียนรู้

พื้นที่ปฏิบัติจริง

   ครูกศน.ตำบล/ 
  วิทยากร/ผู้เรียน

 

 

 



เข้าชม : 1068


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      วันต้นไม้แห่งขาติ ปี พ.ศ.2558 27 / พ.ย. / 2558
      กศน.ป่าขะ 1/2556 8 / พ.ค. / 2556
      รับสมัครนักศึกษา ภาคเรียน ที่ 1/2556 17 / เม.ย. / 2556
      กิจกรรม กศน.ตำบลป่าขะ 2/55 30 / ธ.ค. / 2555
      การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ 4 / ส.ค. / 2555


 
กศน.ตำบลป่าขะ  อำเภอบ้านนา  จังหวัดนครนายก
โทรศัพท์ 085-4461471 E-mail : nfe_pakha@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin