[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

ประวัติตำบลศรีนาวา 
ส่วนที่ 1
ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของตำบลศรีนาวา

1. ข้อมูลพื้นฐานของตำบลศรีนาวา

1.1 ประวัติ ความเป็นมา
สมัยก่อนตำบลศรีนาวา อำเภอเมืองนครนายก เป็นกลุ่มบ้านศรีนาวา บ้านบุ่งจีน บ้านท่าดินแดง ประชาชนมีหลายเชื้อสาย ทั้งคนจีน คนไทย คนลาว และคนพวน ปะปนกันตำบลศรีนาวา อำเภอเมืองนครนายก เปรียบเสมือนท่าเรือสินค้า ที่มีการซื้อ ขาย และแลกเปลี่ยนสินค้ากันมากมาย ประเพณีต่าง ๆ ก็จะมารวมกันปะปนกัน ต่อมาการค้าขายทางเรือ ลดลง
ตำบลศรีนาวา มีสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบ ทางตอนบนมีภูเขาสูง และที่ราบสูง นอกจากนั้นพื้นที่บางส่วนมีแม่น้ำนครนายกไหลผ่าน ส่วนทางตอนกลางและตอนล่างเป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วน เหมาะกับการทำการเกษตรกรรม

1.2 ขนาดและที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีนาวา เป็นตำบลขนาดกลางตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองนครนายก ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ - หมู่ที่ 2 ถนนนครนายก – ท่าด่าน ตำบลศรีนาวา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก มีพื้นที่ทั้งหมด 16,887.50 ไร่ หรือ 27.02 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของอำเภอเมืองนครนายก ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 6 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหินตั้งและตำบลสาริกา อำเภอเมืองนครนายก ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเกาะหวาย ตำบลเกาะโพธิ์ อำเภอปากพลี
และตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมืองนครนายก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลสาริกาและตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมืองนครนายก


1.3 ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ตำบลศรีนาวา มีสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบ ทางตอนบนมีภูเขาสูง และที่ราบสูง นอกจากนั้นพื้นที่บางส่วนมีแม่น้ำนครนายกไหลผ่าน ส่วนทางตอนกลางและตอนล่างเป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วน เหมาะกับการทำการเกษตรกรรม

1.4 การเมืองการปกครอง
การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านคีรีวัน ว่าที่ร้อยตรีณัฐพงษ์  แก่นใจเด็ด เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 2 บ้านศรีนาวา นายปรีชา จันทอนธิมุก เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 3 บ้านหนองโพธิ์ นายสาธิต ขาวละมัย เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 4 บ้านไร่ นางสาวประภัสสร ปราบพยัคฆ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 5 บ้านหนองจิก นางสาววาสนา  วงษ์ศิริ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 6 บ้านสบกเขียว นายสุรพล จั่นศิริ เป็นกำนัน
หมู่ที่ 7 บ้านโคกกรวด นายสงกรานต์ กาหล่ำ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 8 บ้านท่าซุง นางสาวกุลฑิรา  แขกระจ่าง เป็นผู้ใหญ่บ้าน

คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลศรีนาวา
1. นายสมบุญ พิพัฒน์ขจรกิตติ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีนาวา
2. นายวิชิต จั่นศิริ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีนาวา
3. พ.ท.ทวี  ใจอาจหาญ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีนาว
4. นางสาวอัจฉรา  จั่นศิริเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีนาวา
5. นายเมธา เกตุวัลห์ ประธานสภา
6. นายไพรฑรูย์  ปาสีเหล็ก รองประธานสภา
7. นางมะลิวรรณ ตีระวรานันท์ รองประธานสภา
8. .
นางดรุณี จันทอนธิมุก สมาชิก อบต
9. นายจิรเดช  เอี่ยมชู
 สมาชิก อบต
10. นายสัมฤทธิ์  หมื่นนาค สมาชิก อบต.
11. 
นายบุญลือ ทองเรือง สมาชิก อบต.
12. 
นายพิชัย อั้งเจริญ สมาชิก อบต.
13. 
ร้อยตรีสุรศักดิ์  แสงดี สมาชิก อบต.
14. 
นายเล้ง ชุมมิน สมาชิก อบต.
15. 
นางสนั่น พรมมา สมาชิก อบต.
16. นายศิริ  จั่นศิริ สมาชิก อบต.
17. 
นายสุดขจร ศรีพยัพ สมาชิก อบต.
18. 
 นายสัญญา นุ่มนวล สมาชิก อบต.
19. นายจิธน วรรฒนะ สมาชิก อบต.

ประชากร
มีประชากรทั้งสิ้น 5,172 คน แยกเป็น ชาย 2,443 คน หญิง 2,729 คน
มีจำนวนครัวเรือน 1,747 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 191 คน/ตร.กม.
หมายเหตุ ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2553
หน่วยเลือกตั้ง จำนวน 8 หน่วย ดังนี้
หน่วยเลือกตั้งที่ 1 ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 1 ตำบลศรีนาวา
หน่วยเลือกตั้งที่ 2 ศาลาการเปรียญวัดศรีนาวา หมู่ที่ 2 ตำบลศรีนาวา
หน่วยเลือกตั้งที่ 3 ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีนาวา
หน่วยเลือกตั้งที่ 4 ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 4 ตำบลศรีนาวา
หน่วยเลือกตั้งที่ 5 ศาลาการเปรียญวัดหนองจิก หมู่ที่ 5 ตำบลศรีนาวา

หน่วยเลือกตั้งที่ 6 ศาลาธรรมสังเวชวัดสบกเขียว หมู่ที่ 6 ตำบลศรีนาวา

หน่วยเลือกตั้งที่ 7 ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 7 ตำบลศรีนาวา
หน่วยเลือกตั้งที่ 8 ศาลาการเปรียญวัดท่าซุง หมู่ที่ 8 ตำบลศรีนาวา

1.6 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ สภาพเศรษฐกิจ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- มีแม่น้ำนครนายกไหลผ่าน และมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ได้แก่ คลอง จำนวน 5 แห่ง คือ คลองกรวด คลองฉิม คลองขุนแก้ว คลองขุนเม่น และคลองกุ้ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
1. บ่อน้ำบาดาลแบบโยก จำนวน 17 บ่อ
2. บ่อน้ำตื้น จำนวน 36 บ่อ
3. ฝาย จำนวน 6 แห่ง
สภาพเศรษฐกิจ ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศรีนาวา ส่วนมากประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม

1.7 การคมนาคมและการขนส่ง
การคมนาคม ตำบลศรีนาวา มีการคมนาคมทางบกที่ค่อนข้างสะดวก มีเส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อระหว่างตำบลได้ทุกฤดูกาลแต่มีสภาพค่อนข้างไม่ดี
ในสภาพปัจจุบันการคมนาคมภายในตำบล สามารถติดต่อเชื่อมกันได้ทุกหมู่บ้าน การเดินทางสัญจรไปมาส่วนใหญ่จะใช้รถจักรยานยนต์และรถยนต์

1.8 การสาธารณูปโภค
การไฟฟ้า ตำบลศรีนาวา ส่วนมากครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้เกือบทั่วทั้งพื้นที่ ยังเหลือเพียงเล็กน้อยบางส่วนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้
น้ำประปา ตำบลศรีนาวา มีประปาหมู่บ้านหมู่บ้านท่าซุง บ้านโคกกรวดและบ้าน นาบุญ ที่บริหารจัดการน้ำในตำบลศรีนาวา มีใช้พอเพียงตลอดปี

1.9 การศึกษาและสาธารณสุข
การศึกษา มีสถานศึกษาในสังกัด สพฐ. จำนวน 3 แห่ง ประจำปีการศึกษา 2553
1. โรงเรียนวัดคีรีวัน จำนวน 14 คน มีนักเรียน จำนวน 213 คน
2. โรงเรียนชุมชนวัดศรีนาวา จำนวน 8 คน มีนักเรียน จำนวน 135 คน
3. โรงเรียนวัดสบกเขียว จำนวน 6 คน มีนักเรียน จำนวน 81 คน
มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง ประจำปีการศึกษา 2553
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดคีรีวัน จำนวน 2 คน มีนักเรียน จำนวน 25 คน
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนชุมชนวัดศรีนาวา จำนวน 2 คน มีนักเรียน จำนวน 42 คน

มี กศน.ตำบลศรีนาวา จำนวน 1 แห่ง
1. กศน.ตำบลศรีนาวา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
หมายเหตุ ข้อมูล ณ 10 มิถุนายน 2553
การสาธารณสุข
- มีสถานีอนามัย จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ สถานีอนามัยตำบลศรีนาวา สถานที่ตั้ง บ้านเกาะเรียง – สบกเขียว หมู่ที่ 6 มีเจ้าหน้าที่ จำนวน 4 คน
การศาสนา
- มีวัด จำนวน 9 แห่ง ได้แก่
1. วัดคีรีวัน หมู่ที่ 1 ตำบลศรีนาวา
2. วัดศรีนาวา หมู่ที่ 2 ตำบลศรีนาวา
3. วัดหนองโพธิ์ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีนาวา
4. วัดนาบุญ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีนาวา
5. วัดหนองจิก หมู่ที่ 5 ตำบลศรีนาวา
6. วัดโสภาประชาสรรค์ (วัดเกาะเรียง) หมู่ที่ 6 ตำบลศรีนาวา
7. วัดสบกเขียว หมู่ที่ 6 ตำบลศรีนาวา
8. วัดโคกกรวด หมู่ที่ 7 ตำบลศรีนาวา
9. วัดท่าซุง หมู่ที่ 8 ตำบลศรีนาวา

2. ข้อมูลพื้นฐานของ กศน.ตำบลศรีนาวา

2.1 ประวัติ ความเป็นมา
บ้านหนองโพธิ์ เมื่อประมาณ 150 ปี ชาวบ้านเรียกว่า บ้านมาบโพธิ์ มีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ใกล้หนองน้ำ ชาวบ้านในสมัยนั้นเป็นคนลาวอพยพมาจากเวียงจันท์ ได้ใช้พื้นที่ทำการเกษตร โดยการทำนา เลี้ยงเป็ด ไก่ วัว ควายปลูกพืชผักเป็นอาหาร เพราะเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ อยู่มาวันหนึ่งได้มีพระธุดงค์ได้เดินทางมาปักกฎอยู่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใกล้หนองน้ำ และได้รับบิณฑบาตรตามบ้านเรือนของชาวบ้านซึ่งการเดินทางในสมัยนั้นเป็นคันนาไปมาลำบาก ชาวบ้านได้ปรึกษาหารือกันชักชวนพักพวกถากถางป่าบริเวณชายป่าติดแม่น้ำ รวบรวมเงินทอง สิ่งของต่างๆ สร้างวัดให้พระธุดงค์ได้พักอาศัย ต่อมาเมื่อสร้างวัดเสร็จสมบูรณ์ชาวบ้านได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดหนองโพธิ์ ต่อมาทางราชการได้มองเห็นความอุดมสมบูรณ์ จึงตั้งที่ว่าการอำเภอเมืองนครนายกขึ้น เป็นที่ทำการ ต่อมาความเจริญเข้ามาทางราชการจึงย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองไปที่วัดศรีเมือง จึงเปลี่ยนที่ว่าการอำเภอเป็นตำบลหนองโพธิ์ โดยที่ทำการตำบลได้ตั้งอยู่ที่เดิมของอำเภอใต้วัดติดกับแม่น้ำเพื่อให้ชาวบ้านได้มาติดต่อราชการได้สะดวกโดยใช้เรือเป็นพาหนะ และเป็นแหล่งค้าขาย เช่น เครื่องลายคราม กะปิ น้ำปลา โอ่งน้ำ ท่าเรือขนไม้ และอื่นๆ ต่อมาได้มีถนนตัดผ่านกลางหมู่บ้านทางราชการได้มองเห็นว่า ตำบลหนองโพธิ์ นั้นอยู่ไม่กึ่งกลางจึงได้เปลี่ยนจากตำบลหนองโพธิ์ เป็น ตำบลศรีนาวา จนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติ กศน.ตำบลศรีนาวา
เมื่อปี พ.ศ.2541 มีการจัดตั้งการเรียนการสอน กศน. ณ โรงเรียนวัดหนองโพธิ์ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีนาวา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ต่อมาปี พ.ศ. 2542 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้มีศูนย์การเรียนชุมชนตำบลจึงมีการย้ายไปอาศัยอยู่กับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีนาวา โดยมีครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนตำบลศรีนาวาเป็นผู้ดูแลจัดกระบวนการเรียนการสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย
ต่อมาองค์การบริหารส่วนตำบลศรีนาวามีการปรับปรุงอาคารสถานที่ จึงย้ายมาสอนที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ร. 9 บ้านหนองโพธิ์ ร่วมกับ บ้านหนองโพธิ์ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีนาวาเป็นอาคารเอกเทศมาโดยตลอด
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553 มีการประกาศจัดตั้ง กศน.ตำบลศรีนาวา สถานที่ตั้งอยู่ในวัดหนองโพธิ์ซึ่งเป็นอาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9 บ้านหนองโพธิ์ วัดหนองโพธิ์ หมู่ที่ 3 ถนน ท่าด่าน – นครนายก ตำบลศรีนาวา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
ประเพณีและวัฒนธรรม
- งานบุญสงกรานต์
- สู่ขวัญข้าวเดือนสามขึ้นสามค่ำ
- เลี้ยงตาปู่บ้านหนองโพธิ์ ,นาบุญ
- งานบุญสารทเดือนสิบ
- งานบุญเข้าพรรษา
- งานออกพรรษา
- งานประเพณีไทย (ลอยกระทง)
- งานประจำปีปิดทองรูปเหมือนหลวงปู่นนท์
การบริการสาธารณะในหมู่บ้าน
- มีไฟฟ้าส่วนภูมิภาคครบทุกหลังคาเรือน
- มีประปา
- หอกระจายข่าวสาร
- มีโทรศัพท์สาธารณะ / โทรศัพท์ประจำบ้าน
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
- ปิดทองรูปเหมือนหลวงปู่นนท์
- ปลาหลายชนิดท่าน้ำวัด
องค์กรต่าง ๆ
- กรรมการหมู่บ้าน (กม.)
- กรรมการกองทุนหมู่บ้าน
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
- กรรมการทุนประเพณีสู่ขวัญข้าว
- กลุ่มอาชีพทำดอกไม้จันทน์
- กลุ่มอาชีพทำน้ำยาล้างจาน , น้ำยาปรับผ้านุ่ม
- กลุ่มอาชีพด้านการเกษตร
ทักษะฝีมือแรงงานในหมู่บ้าน
- มีแพทย์แผนโบราณ การนวด การปรุงยาสมุนไพร การประคบและเป่า
- มีผู้นำอาชีพก้าวหน้า ด้านการเกษตร อุตสาหกรรมในครัวเรือน
ผลการดำเนินงานดีเด่น
- การประหยัด อดออม การฝากเงินสัจจะอย่างสม่ำเสมอ
- โครงการอยู่ดีมีสุข 50 โครงการชุมชนพอเพียง
- รางวัลคณะกรรมการหมู่บ้านชนะเลิศ ระดับอำเภอเมืองนครนายกและระดับ
จังหวัดนครนายก
เกียรติคุณและความสำเร็จของ กศน.ตำบลศรีนาวา
1. ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน รางวัลชมเชยระดับภาคตะวันออก
2. ผ่านการประเมินคุณภาพภายในศูนย์การเรียนชุมชนตำบลศรีนาวา ระดับดี

ศักยภาพของหมู่บ้าน และทิศทางการพัฒนา

ด้านเศรษฐกิจ
ทิศทางการพัฒนา - ด้านการเกษตรปลูกข้าวพันธุหอมมะลิ เลี้ยงสัตว์ ปลุกพืชผักสวนครัว
- ด้านโครงสร้างพื้นฐานลาดยางแอสฟัสท์ติกทับคอนกรีตขยายท่อเมนต์
ประปา ไฟฟ้าส่องสว่างตามไหล่ทาง
- ส่งเสริมกลุ่มอาชีพ และผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้าน
- จัดให้มีร้านค้าชุมชน เพื่อจำหน่ายผลผลิตในหมู่บ้าน
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
- พัฒนาครอบครัวตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านสังคม
ทิศทางการพัฒนา - อบรมประชาชนให้รู้จักรักษาสุขภาพ ไม่ให้เกิดโรค เช่น เบาหวา
ความดันโลหิต มะเร็งเต้านม
- ส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้อยู่คู่หมู่บ้าน
- จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน ช่วยเหลือผู้ยากไร้ เด็ก เยาวชน คนชรา
- การพัฒนาด้านสุขอนามัย มีหลักประกันสุขภาพ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทิศทางการพัฒนา - การอนุรักษ์ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ด้านบริหารจัดการ
ทิศทางการพัฒนา - การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐาน เพื่อการจำหน่าย
ทั่วประเทศ
- อบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน / บัญชีกองทุนต่าง ๆ
- โครงการต่างๆ ที่รัฐสนับเงินเงินทุน
- โครงการ SML / ชุมชนพอเพียง
ด้านความมั่นคง
ทิศทางการพัฒนา - อบรมพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
- จัดเวรยามในหมู่บ้าน ป้องกันปัญหายาเสพติด การลักขโมย
- จัดให้มีการอบรมรู้รักสามัคคีคนในชาติให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
2.2 บทบาท ภารกิจ กศน.ตำบลศรีนาวา
กศน.ตำบล เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน. อำเภอ มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ
ประชาชนและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน

กิจกรรมหลักของ กศน. ตำบล ( นโยบายเมื่อ วันที่ 12 ตุลาคม 2553 )
โดยที่การจัดตั้ง กศน.ตำบล มีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิสำหรับประชาชนในชุมชน ดังนั้นจึงอาจแบ่งกิจกรรมหลักของ กศน.ตำบล ได้ดังนี้
1. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center) เป็นแหล่งรวบรวมข่าวสารต่าง ๆ
ของชุมชน เป็นสถานที่ที่คนทั่วไปจะมาศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
2. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center) เป็นสถานที่ที่จัดให้บริการเพื่อ
สร้างเสริมโอกาสการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน
3. ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center) เป็นสถานสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่
ตอบสนองความต้องการของประชาชนทั้งการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
4. ศูนย์ชุมชน (Community Center) เป็นสถานที่ที่คนในชุมชนจะมาทำกิจกรรม
ร่วมกัน ประชาคมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแม้การ “โสเล” หรือ “เขลง” กันในชุมชน
กิจกรรมของ กศน.ตำบลเหล่านี้จะมี ครู กศน.ตำบล ซึ่งเป็นพนักงานราชการในสังกัดสำนักงาน กศน. เป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีกิจกรรมเหล่านี้ขึ้น โดยทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ร่วมทั้งมีอาสาสมัครต่าง ๆ ในชุมชน เข้ามาร่วมกันทำงานเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน

กศน. ตำบล มีภาระกิจที่สำคัญ ดังนี้
1. จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ในชุมชน อย่างน้อยปีละ 560 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรม ดังนี้
1.1 การศึกษานอกระบบ 260 คน ประกอบด้วย
1.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 60 คน
1.1.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ จำนวน 20 คน
1.2.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 20 คน
1.2.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จำนวน 60 คน
1.2.5 การส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 100 คน
1.2 การศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 300 คน
2. สร้าง และขยายภาคีเครือข่าย เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
3. ส่งเสริมและสนับสนุน การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย ทั้งในแง่ของความเข้มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วม และศักยภาพในการจัด
4. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน.
5. จัดทำแผนงานโครงการ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ เพื่อจัดกิจรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานของ สำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัด และ กศน. อำเภอ ที่สังกัด เพื่อการสนับสนุนงบประมาณ จาก กศน. อำเภอ ที่สังกัด โดยในกรณีของการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดค่าใช้จ่ายรายหัวตามที่ มติคณะรัฐมนตรีกำหนด คูณด้วยจำนวนนักศึกษา 60 คน สำหรับกิจกรรมอื่นๆ นั้น จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ ให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน. อำเภอ
6. ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การเรียนชุมชน และภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและกับ กศน. อำเภอ ที่สังกัด ตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงาน บนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฏิบัติ
7. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในความรับผิดชอบ ตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอกของ กศน. อำเภอที่สังกัด

8. รายงานผลการดำเนินงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้
9. ปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย จาก กศน. อำเภอ สำนักงาน กศน. จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมาย กำหนด

บทบาทหน้าที่ของครู กศน.ตำบล
ครู กศน.ตำบล เป็นผู้บทบาทสำคัญในการจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังนั้น จึงมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการขับเคลื่อน กศน. ตำบลกล่าวคือ
1. การวางแผนการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีกระบวนการทำงาน ดังนี้
1.1 ศึกษาสำรวจชุมชนโดยละเอียดเพื่อจัดทำฐานข้อมูลชุมชน
1.2 จัดทำเวทีประชาคมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานต่าง ๆ
เพื่อร่วมกันจัดทำแผนชุมชน
1.3 จัดทำโครงการด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มาจากแผน
ชุมชนต่อ กศน.อำเภอ เพื่อขอรับการสนับสนุนและประสานขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย
1.4 ประสานงานแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมจัดกิจกรรม
การศึกษานอกระบบแลการศึกษาตามอัธยาศัยของชุมชนที่รับผิดชอบ
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ กศน. ตำบล โดยจำแนกกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
2.1 การส่งเสริมการเรียนรู้
2.2 การจัดการจัดการศึกษาในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.3 การจัดการการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรระยะสั้นเพื่อการพัฒนาอาชีพ(วิชาทำมาหากิน)
การพัฒนาทักษะชีวิตและการพัฒนาสังคมและชุมชน
2.4 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
2.5 การจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง หรือส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
ทั้งนี้ ครู กศน. ตำบล จะมีบทบาทหลักเป็นผู้อำนวยการความสะดวก (Facilitater) ให้กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการได้รับประสบการณ์การเรียนรู้โดยมีกระบวนการทำงาน คือ
1) วางแผนการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน
2) ประสานงานเพื่อจัดหาวิทยากรหรือผู้สอนผู้สอนแต่ละรายวิชาหรือแต่ละหลักสูตร
ร่วมกับ กศน.ตำบล
3) ให้คำปรึกษาแนะนำและเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือให้ผู้เรียนไปเรียนได้เรียนรู้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
4) ประสานงานกับ กศน.อำเภอ เพื่อจัดหาสื่อและวัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการ
เรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละหลักสูตร
5) ประสานงานกับ กศน.อำเภอ เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลในแต่ละหลักสูตร
6) สรุปผลและการรายงานผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้ต่อ กศน.อำเภอ
3. การให้บริการการเรียนรู้ใน กศน.ตำบล โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารของชุมชน ศูนย์บริการ
ชุมชน ซึ่งนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น
3.1 กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และมุมห้องสมุดประชาชน
3.2 การให้บริการสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วีดีทัศน์ รายการวิทยุเพื่อการศึกษา
3.3 การประสานงานสนับสนุนศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน
4. การสนับสนุนของชุมชน เพื่อเป็นที่พบปะและเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชน
5. การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน โดยการประสานขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย
เพื่อเป็นอาสาสมัคร กศน. , อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน

บทบาท อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและสมัครใจทำงานเพื่อสังคมในด้านการศึกษา โดยไม่รับค่าตอบแทนในหมวดเงินเดือนและได้รับการฝึกอบรมก่อนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีดังนี้
1. เสนอความต้องการในการเรียนรู้ของประชาชน โดยประสานงานกับครูประจำ
ศูนย์การเรียนชุมชน
2. ประชาสัมพันธ์ สื่อสาร เผยแพร่ข้อมูลเพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงการเรียนรู้ของประชาชน
3. ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
4. ร่วมกับครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนในการติดตามผลและดูแลการจัดกิจกรรมศึกษาในชุมชน
5. ส่งเสริม สนับสนุน การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษาของประชาชนในชุมชน

คณะกรรมการ กศน.ตำบล ประกอบด้วย องค์คณะบุคคล ดังนี้
1. ประธานกรรมการ (องค์คณะบุคคล ที่มีบทบาทในการรส่งเสริม สนับสนุนและมีส่วนร่วม
ในการบริหารกิจการด้านต่างๆ ของ กศน. ตำบล หรือ ศรช. ให้เป็นไปตามภารกิจที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดองค์ประกอบและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ กศน. ตำบล และ ศรช)
2. กรรมการที่เป็นตัวแทนจากหมู่บ้านหรือชุมชน หมู่บ้านหรือชุมชนละ 2 คน ซึ่งอาจมาจากผู้แทนผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำศาสนา เป็นต้น
3. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรนักศึกษา (กรรมการนักศึกษา 2คน)
4. กรรมการที่เป็นอาสาสมัคร กศน. (ตัวแทนจากตำบล 1 คน)
5. กรรมการและเลขานุการ (หัวหน้า กศน. ตำบล หรือ หัวหน้า ศรช.)

บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ กศน. ตำบล
1. วางแผนการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน
2. จัดประชาสัมพันธ์งานศูนย์การเรียนชุมชน
3. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์และครุภัณฑ์พื้นฐานให้กับครูศูนย์การเรียนชุมชน
4. บริหารและจัดกิจกรรมในศูนย์การเรียนชุมชน
5. กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน
6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนดให้เป็นบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชน
7. ประสานงานและเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับศูนย์การเรียนชุมชนต่างๆ ในตำบล
8. ประสานกับส่วนราชการในตำบลและเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน
9. ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อนำแผนชุมชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมาปฏิบัติ
10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด ให้เป็นบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ กศน. ตำบล
2.3 โครงสร้าง อัตรากำลัง กศน.ตำบลศรีนาวา

บุคลากร
1. ว่าที่ร้อยเอก ดร.อาศิส เชยกลิ่น ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเมืองนครนายก
2. นางสาวกรวรรณ เหลืองวิวาย งานการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ
3. นางพัฒนศิริ แก้วสุข งานการศึกษาต่อเนื่อง
4. นางสมพร รัตนจันทรา งานการศึกษาตามอัธยาศัย
5. นายจำเนียร อัญญโพธิ์ งานภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษ
6. นายกิตติพงษ์ โพธิเวชกุล หัวหน้า กศน.ตำบลศรีนาวา

คณะกรรมการ กศน.ตำบลศรีนาวา
1. พระมหาสิริสวัสดิ์ ธีรปภาโส ที่ปรึกษา กศน.ตำบลศรีนาวา
2. นางพรทิพย์ เอี่ยมอาจหาญ ที่ปรึกษา กศน.ตำบลศรีนาวา
3. นายสมบุญ พิพัฒน์ขจรกิตติ์ ที่ปรึกษา กศน.ตำบลศรีนาวา
4. นายสาธิต ขาวละมัย ประธานคณะกรรมการ กศน.ตำบลศรีนาวา
5. นางพรรณอร เอี่ยวเส็ง รองประธานคณะกรรมการ กศน.ตำบลศรีนาวา
6. นายปุ่น พรหมสวัสดิ์ กรรมการ กศน.ตำบลศรีนาวา
7. พันโททวี ใจอาจหาญ กรรมการ กศน.ตำบลศรีนาวา
8. นางประอร โพธิเวชกุล กรรมการ กศน.ตำบลศรีนาวา
9. นายดอกไม้ โสภา กรรมการ กศน.ตำบลศรีนาวา
10. นายกิตติพงษ์ โพธิเวชกุล กรรมการและเลขานุการ กศน.ตำบลศรีนาวา

อาสาสมัคร กศน.ตำบลศรีนาวา
1. นางกัลยา สวนสงค์ อาสาสมัคร กศน.ตำบลศรีนาวา
2. นายปรียงค์ บุญงาม อาสาสมัคร กศน.ตำบลศรีนาวา
3. นางสาวสุพรรณี ใจดี อาสาสมัคร กศน.ตำบลศรีนาวา

องค์กรนักศึกษา กศน.ตำบลศรีนาวา
1. นางนิภาจิต สุวิมล ประธานกรรมการ
2. นางฉลวย สัมมาทรัพย์ รองประธานกรรมการ
3. นางสาวอิงอร รักประดิษฐ์ รองประธานกรรมการ
4. นายปรียงค์ บุญงาม กรรมการ
5. นายสมบัติ สัจจพันธ์ กรรมการ
6. นายอำพล เทียนงาม กรรมการ
7. นางสาวรัชนินยา โชติกุล กรรมการ
8. นายนักรบ โมกไธสง กรรมการ
9. นายประดิษฐ์ แซ่กอ กรรมการ
10. นางสาวอำพล เทียนงาม กรรมการ
11. นายกลินท์ บุญทาสิน กรรมการและเลขานุการ
2.4 ผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2553

1. โครงการส่งเสริมการรู้หนังสือ
กศน.ตำบลศรีนาวา ไม่ได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมการรู้หนังสือในปีงบประมาณ 2553 อยู่ในช่วงสำรวจข้อมูลในการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการรู้หนังสือ
ปัญหาอุปสรรค คือ ผู้รับบริการไม่เห็นความสำคัญของการรู้หนังสือ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและเวลาของกลุ่มเป้าหมายกับครูผู้สอนไม่ตรงกัน

2. โครงการยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน
กศน.ตำบลศรีนาวา สามารถดำเนินการโครงการยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน ดังนี้
1) ภาคเรียนที่ 1/2552 นักศึกษามีอัตราจบ ดังนี้
- ประถมศึกษา ร้อยละ 14.67
- ม.ต้น ร้อยละ 19.31
- ม.ปลาย ร้อยละ 14.35
2) ภาคเรียนที่ 2/2551 นักเรียนมีอัตราจบ ดังนี้
- ประถมศึกษา ร้อยละ 40.00
- ม.ต้น ร้อยละ 17.24
- ม.ปลาย ร้อยละ 18.08
ปัญหาอุปสรรค คือ นักศึกษาบางส่วนได้ย้ายที่อยู่อาศัยและนักศึกษาไม่สามารถทำกิจกรรมการเรียนการสอนได้ จึงทำให้การดำเนินงานของ กศน.ตำบลศรีนาวา ไม่บรรลุตามตัวชี้วัด ตามที่กศน.ตำบลศรีนาวากำหนด

3. โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (เรียนฟรี 15 ปี)
กศน.ตำบลศรีนาวาจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังนี้ ปรับพื้นฐานภาษาไทย ค่ายภาษาอังกฤษ พัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยี จัดหาหนังสือแบบเรียนและจัดหาสื่ออุปกรณ์ ผลการดำเนินงาน นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1/2552 และ 2/2552 เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนร้อยละ 45 ของนักศึกษาที่ลงทะเบียน
ปัญหาอุปสรรค คือ ผู้เรียนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทั้งหมดเนื่องจากภารงานผู้เรียน

4. โครงการเทียบระดับการศึกษา
กศน.ตำบลศรีนาวา ได้มีการประชาสัมพันธ์ดำเนินการจัดการประเมินเทียบระดับการศึกษาเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และคุณธรรม สามารถนำผลการเรียนรู้มาเทียบระดับการศึกษาได้รับรองคุณวุฒิทางการศึกษา และหลักสูตรทางการศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพได้ โดยเปิดรับประเมินเทียบระดับ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สรุปผลการดำเนินงาน มีผู้เข้ารับการประเมินและผ่านการประเมินทั้ง 3 มิติ 2 คน
ปัญหาอุปสรรค คือ ผู้เรียนไม่ค่อยกล้ามาปรึกษาเนื่องมาจากเวลาไม่ตรงกัน

5. โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต
5.1 โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ กศน.ตำบลศรีนาวาได้ดำเนินโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ มีนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน จำนวน 20 คน จบการศึกษา จำนวน 723 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักศึกษาที่ลงทะเบียน
ปัญหาอุปสรรค คือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่สามารถปฏิบัติครบตามเวลาที่กำหนดไว้
5.2 โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต กศน.ตำบลศรีนาวาได้ดำเนินโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน จำนวน 60 คน จบการศึกษา จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักศึกษาที่ลงทะเบียน
ปัญหาอุปสรรค คือ บางกิจกรรมผู้เข้าร่วมโครงการไม่สามารถปฏิบัติจริงได้ครบทุกคน
5.3 โครงการการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม กศน.ตำบลศรีนาวาได้ดำเนินโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน จำนวน 100 คน จบการศึกษา จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักศึกษาที่ลงทะเบียน
ปัญหาอุปสรรค คือ ในบางกิจกรรมผู้เข้าร่วมโครงการไม่สามารถปฏิบัติจริงได้ครบทุกคน โดยมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน จำนวน 1 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสตรีแม่บ้านศรีนาวา 1 หมู่บ้าน กศน.ตำบลศรีนาวาได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนชุมชน จำนวน 8 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ100 ของจำนวนหมู่บ้าน(ชุมชน) งบประมาณในการจัดกิจกรรมน้อยไม่ควรระบุจำนวนผู้เรียน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเวลาในการจัดกิจกรรมไม่สัมพันธ์กัน

5.4 โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กศน.ตำบล
ศรีนาวา ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ การผลิตเพื่อการพึ่งตนเอง ได้แก่ การทำไม้กวาดดอกหญ้า สานกระเป๋าจากเส้นพลาสติก และการผลิตแบบผสมผสานไร่นาสวนผสม ได้แก่ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน จบการศึกษาตามหลักสูตรของแต่ละกิจกรรมจำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ปัญหาและอุปสรรค บางกิจกรรมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของ
ชุมชน เนื่องจากประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจเป็นอย่างดี

6. โครงการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
6.1 โครงการพัฒนา ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านหนองโพธิ์ กศน.ตำบลศรีนาวาได้ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาห้องสมุดประชาชน ( ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านหนองโพธิ์ ) โดยปรับภูมิทัศน์ทั้งบริเวณภายในและภายนอกให้สวยงามจูงใจให้เข้ามาใช้บริการ แนะนำหนังสือใหม่ กิจกรรมครอบครัวรักการอ่าน กิจกรรมจัดบอร์ดวันสำคัญ กิจกรรมอำเภอเคลื่อนที่ กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ กิจกรรมวันแม่ถึงวันพ่อ 116 วัน และกิจกรรมหนึ่งเสียงของท่านช่วยยุติความ รุนแรงต่อผู้หญิง จากสถิติพบว่าในปีงบประมาณ 2553 มีผู้ใช้บริการ 442 คน ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านเปิดทำงานทุกวัน คิดเป็นผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 15 คน
ปัญหาอุปสรรค คือ ขาดงบประมาณเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ทั้งภายในและภายนอก
ขาดบุคลากรเพื่ออำนวยความสะดวกแก่สมาชิก และขาดผู้ดูแลความสะอาด
6.2 โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชน เป็นการดำเนินการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชน กศน.ตำบลศรีนาวามีการจัดมาตรฐานและมีความพร้อมในการจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้แก่ประชาชนในชุมชน กศน.ตำบลศรีนาวา จึงได้ดำเนินการพัฒนาเพื่อให้มีความพร้อมในการให้บริการ
ปัญหาอุปสรรค คือ งบประมาณในการสนับสนุนไม่มี การวางแผน การสั่งการไม่
ชัดเจน อาคารไม่เป็นเอกเทศ ชุมชนยังไม่เห็นความสำคัญกับการศึกษา
6.3 โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน กศน.ตำบลศรีนาวา ได้ดำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ วัดหนองโพธิ์ วัดคีรีวัน สวนป่ารุกขชาติและชุมชนพึ่งตนเองบ้านหนองโพธิ์
ปัญหาอุปสรรค คือ การมอบหมายงานจากผู้บังคับบัญชาบางครั้งไม่ชัดเจน ทำให้การเก็บข้อมูลผิดพลาด ไม่ได้สำรวจแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาเพิ่มขึ้น เป็นผลให้มีแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาบางแห่งยังไม่เป็นที่รู้จัก นักศึกษา กศน. บางคนยังไม่มีความพร้อมในเรื่องของการเข้าไปศึกษาในแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญา เนื่องจากไม่มีเวลา เพราะต้องทำงาน บางครั้งที่มีกลุ่มเป้าหมายเข้าไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ หากมีจำนวนน้อยเกินไปสังเกตว่าวิทยากรไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าที่ควร แหล่งเรียนรู้บางแหล่งยังไม่พร้อมเรื่องอาคาร (คับแคบ , เก้าอี้ , สื่อ ฯลฯ) และขาดปัจจัยที่สนับสนุน / ต่อยอดของแหล่งเรียนรู้แห่งเดิม
6.4 โครงการส่งเสริมการอ่านของประชาชน กศน.ตำบลศรีนาวาได้จัดกิจกรรมส่งเสริมของประชาชนมีหลายรูปแบบ สอดคล้องกับลักษณะการดำรงชีวิตของประชาชนในยุคข่าวสารข้อมูล และเข้าถึงประชาชนทุกโอกาส
ปัญหาอุปสรรค คือ ขาดผู้รับผิดชอบสำหรับการนำหนังสือหมุนเวียนตามโครงการส่งเสริมการอ่านไปตามจุดที่กำหนด งบประมาณมีจำกัดและขาดการสำรวจความต้องการในการอ่านหนังสืออย่างต่อเนื่องของกลุ่มเป้าหมาย

7. โครงการส่งเสริมอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย
กศน.ตำบลศรีนาวา มีการจัดส่งผู้มีจิตสาธารณะเข้าร่วมการอบรม มีอาสาสมัคร ดังนี้
กลุ่มแกนนำ 1) นางจารุณี สวนสงค์ อาสาสมัคร กศน.ตำบลศรีนาวา
2) นายปรียงค์ บุญงาม อาสาสมัคร กศน.ตำบลศรีนาวา
3) นางสาวสุวรรณี ใจดี อาสาสมัคร กศน.ตำบลศรีนาวา
ปัญหาและอุปสรรค คือ ข้อมูลและการสำรวจข้อมูลบางอย่างรายงานเกิดความล่าช้า
เนื่องจากผู้ให้ข้อมูลไม่ได้อยู่ในพื้นที่ และอาสาสมัครมีภารกิจ / งานในหน้าที่ปฏิบัติอยู่แล้ว จึงมีเวลาไม่มากในการสนับสนุนงาน กศน.

8. โครงการส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่าย
กศน.ตำบลศรีนาวามีการวางแผนจัดกิจกรรมร่วมกันกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ อบต.ตำบลศรีนาวา สถานีอนามัยตำบลศรีนาวา โครงการสวนป่ารุกชาติมูลนิธิชัยพัฒนา บ้านสบกเขียว ตำบลศรีนาวา ชุมชนพึ่งตนเองตำบลบ้านหนองโพธิ์ เกษตรตำบลศรีนาวา อำเภอเมืองนครนายกและพัฒนากรอำเภอเมืองนครนายก
ปัญหาและอุปสรรค คือ การสั่งการในการปฏิบัติงาน การจัดกิจกรรมที่ชัดเจน สิ่งที่ทำอยู่ คือ กศน.เป็นหน่วยงานแฝงในการจัดกิจกรรม เพราะว่าบุคลากรพร้อมแต่มีงบประมาณที่จำกัด

9. โครงการพิเศษ
9.1 โครงการศูนย์ราชการใสสะอาด เป็นการสร้างเพื่อป้องกัน ปราบปราม บำบัด แก้ไข ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบให้บรรเทา และหมดไปจากสังคมไทย โดยเริ่มที่ภาคราชการ เพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสในงานบริหาร อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่ผลักดันการเสริมสร้างประสิทธิภาพงานบริการของหน่วยงาน ที่สนองต่อความต้องการของประชาชนและเกิดผลดีหรือไม่ก่อผลเสียต่อสังคมโดยรวม มีการเปิดช่องทางในการร้องทุกข์ ร้องเรียน แสดงความคิดของประชาชน จำนวน 2 ช่องทาง คือ จัดตั้งตู้รับความคิดเห็น และสอบถามข้อข้องใจและจัดตั้งอาสาสมัคร กศน.
ปัญหาอุปสรรค คือ บุคลากรยังไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและจริงจัง
9.3 โครงการศูนย์ให้คำปรึกษาแนะแนว (Advice Center) ได้จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อให้บริการแนะแนวเป็นกระบวนการที่จัดขึ้นช่วยให้ผู้รับบริการได้รู้ถึงความสามารถ ความสนใจของตนเอง ได้จัดกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ อำเภอเคลื่อนที่ ทางโทรศัพท์ ตัวต่อตัว วิทยุชุมชน เป็นต้น
9.4 โครงการประกันคุณภาพภายในกศน.ตำบลศรีนาวา เป็นการดำเนินการตามแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในกศน.ตำบลศรีนาวาและการเตรียมความพร้อมเพื่อการรับรองการประเมินคุณภาพภายนอก ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานการประกันคุณภาพภายใน กศน.ตำบลศรีนาวาอย่างชัดเจน ปัญหาอุปสรรค คือ ครูขาดความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการประกันคุณภาพ ขาดการจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบ การจัดทำ SAR แผนพัฒนาคุณภาพ แผนปฏิบัติการประจำปีไม่สมบูรณ์ ขาดการวิเคราะห์สรุปผลการจัดทำโครงการ / กิจกรรม ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และไม่มีการทำงานเป็นทีม แบ่งแยกงานเป็นเอกเทศ ทำให้บางครั้งงานไม่สอดคล้องกัน




 



เข้าชม : 3276
 
 
กศน.ตำบลศรีนาวา อำเภอเมืองนครนายก  จังหวัดนครนายก
เบอรโทรศัพท์ครูต้อม  081-7159048  E-mail : kittipong.6805@hotmail.com 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin