[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

 

 

แผนจัดการศึกษาอาชีพ หลักสูตรระยะสันเพื่อพัฒนาอาชีพ โครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้เศรษฐกิจเศรษฐกิจพอเพียง
กศน.ตำบลศรีนาวา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 
ระหว่างเดือน มกราคม – 31 มีนาคม 2555
 
 

กิจกรรม
(Project)
วิธีการจัด
เป้าหมาย
(Target)
ระยะเวลา
(Period)
สถานที่
(Place)
งบประมาณ
(Budget)
 
๑.            ๑. การปลูกผัก
๒.                 สวนครัว
๓.                 ปลอดสารพิษ
     - ผักบุ้งจีน
     - แตงกวา
     - ข้าวโพด
     - บวบหอม
     - ถั่วพู
     - ถั่วฝักยาว
 
 
จัดกระบวนการเรียนรู้
 - เชิญภูมิปัญญาให้ความรู้เรื่องการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ
 - ปฏิบัติจริง
 
ระยะที่ 1  การเตรียมดิน
- ขุดแปลงยาวประมาณ 1.2 เมตร ตากดินไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ หลังจากนั้นพรวนดินอีกรอบ
ให้ละเอียดแล้วใส่ปุ๋ยคอก(คุกให้เข้ากัน)ยกแปลงให้สูงประมาณ 20 เซนติเมตร
 
ระยะที่ 2 การปลูก
- หว่านเมล็ดพันธุ์ผักลงในแปลงให้ทั่วและสม่ำเสมอจากนั้นให้นำฟางมาคลุมอย่างบางแล้วลดน้ำให้ชุ่ม
 
 
ระยะที่ 3 การแยกต้นกล้า
เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 20 วัน ก็ถอนแยกออกไปในแปลงดินที่เตรียมไว้ให้ระยะห่างกันพอประมาณ
 
 
 
 
๑๕ คน
๑๕ ครัวเรือน
 
 
ทฤษฎี ๓ ชั่วโมง
กุมภาพันธ์
๒๕55
 
ปฏิบัติ 30 วัน
-  การเตรียมดิน
๒ – 3
กุมภาพันธ์
๒๕55
 
- การปลูก
๕ - ๗
กุมภาพันธ์
๒๕55
 
- การแยกต้นกล้า      
๑๕
กุมภาพันธ์ 
๒๕55
 
 
๑.ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
   ๘๔ พรรษาบ้านหนองโพธิ์
(เป็นสถานที่จัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ)
๒.ครัวเรือนในหมู่ที่ 1 – ๘ 
ตำบลศรีนาวา อำเภอเมืองนครนายก
(เป็นสถานที่ปฏิบัติจริง)
 
ประมาณการค่าใช้จ่าย
๑. ค่าเมล็ดพันธุ์ผัก 
(1๖๘ ซอง ๆ ละ  2๕ บาท
=  ๔,๒๐๐ บาท )
รวม ๔,๒00 บาท
หมายเหตุ ปุ๋ยหมักชีวภาพครัวเรือนละ ๑ กระสอบ จากโรงปุ๋ยหมักชุมชน
 
กิจกรรม
(Project)
วิธีการจัด
เป้าหมาย
(Target)
ระยะเวลา
(Period)
สถานที่
(Place)
งบประมาณ
(Budget)
 
 
ระยะที่ 4 การเก็บผลผลิต
- การเก็บผลผลิตได้ก็ต่อเมื่ออายุได้ประมาณ 45-50 วัน(นักจากวันหว่านเมล็ดพันธุ์ผัก)เพราะช่วงนี้ผักเจริญเติบโตเต็มที่
การดูแลรักษา
1.การให้น้ำจะลดน้ำ เช้า-เย็น ให้เพียงพออย่างสม่ำเสมอจะทำให้ผักเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
2.การใส่ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยคอกเพื่อที่จะได้ผักที่ปลอดสารเคมี
3.การป้องกันกำจัดศัตรูพืชควรดูแลรักษาป้องกันโดยใช้สารสมุนไพรที่ชาวบ้านทำขึ้นเอง เช่น ทำจากสะเดา ข่า พริก น้ำส้มควันไม้ เป็นต้น
- ติดตาม/ประเมินผล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
- การเก็บผลผลิต
4 - 10
มีนาคม
2555
 
 
 
กิจกรรม
(Project)
วิธีการจัด
เป้าหมาย
(Target)
ระยะเวลา
(Period)
สถานที่
(Place)
งบประมาณ
(Budget)
 
๒. การทำปุ๋ย 
     ชีวภาพ
    
 
 
จัดกระบวนการเรียนรู้
 - เชิญภูมิปัญญาให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
 - ปฏิบัติจริง
 
ระยะที่ 1 ปฏิบัติจริง
1. ผสมน้ำเอนไซม์ น้ำตาล และน้ำ ในถังพลาสติก แล้วใช้บัวรดน้ำตักรดทีละชั้น
2. เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นให้หนาประมาณ 1 ศอก คลุมด้วยกระสอบป่านหรือกระสอบปุ๋ย หรือคลุมด้วยแกลบสด เพื่อไม่ให้ถูกแสงแดดประมาณ 5 วัน ตรวจดูความร้อนในวันที่ 2 หรือ 3 ไม่ต้องกลับกองปุ๋ย ถ้าปุ๋ยกองใหญ่มากใช้เวลา 20 วัน
3. บรรจุปุ๋ยหมักชีวภาพที่คลุกเคล้ากันดีแล้ว ในกระสอบปุ๋ย สามารถเก็บไว้นานเป็นปี ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์ สารอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีสารอาหารเหมาะสำหรับพืชนำไปใช้ทันที ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อรา ในระหว่างการหมักถ้าไม่เกิดความร้อนแสดงว่ามีข้อผิดพลาด อุณหภูมิในการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนนานเกินไป ฉะนั้นความชื้นที่ให้พอดีประมาณ 30%
 
 
 
 
 
๑๕ คน
๑๕ ครัวเรือน
 
 
ทฤษฎีและปฏิบัติ 
๓ ชั่วโมง
๑๓
กุมภาพันธ์
๒๕55
 
 
 
 
 
๑.ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
   ๘๔ พรรษาบ้านหนองโพธิ์
(เป็นสถานที่จัดกระบวนการเรียนรู้และเป็นสถานที่ปฏิบัติจริง)
 
ประมาณการค่าใช้จ่าย
1. ปุ๋ยคอก
( ๖0 กระสอบๆละ 25 บาท
= 1,๕00 บาท)
2. น้ำตาลทรายแดง
( ๒0 กิโลกรัม ๆ ละ 2๘ บาท
= 560 บาท)
รวม ๒,๐60 บาท
หมายเหตุ
๑.แกลบดิบ ๖๐ กระสอบ
สนับสนุนจากโรงสีชุมชน
บ้านหนองโพธิ์ ทำเพื่อทดแทนปุ๋ยจากโรงปุ๋ยหมักชุมชน
 
 

 
 

กิจกรรม
(Project)
วิธีการจัด
เป้าหมาย
(Target)
ระยะเวลา
(Period)
สถานที่
(Place)
งบประมาณ
(Budget)
 
๓. การเพาะพันธุ์
    ต้นกล้า
   ผักสวนครัว   เพื่อการจำหน่าย
     -  พริกหอม
     -  โหระพา
     - กะเพรา
     - สะระแหน่
     - ผักแพว
     - ยี่หล่า
     - แมงลัก
     -  ผักบุ้งจีน
     - แตงกวา
     - ข้าวโพด
     - บวบหอม
     - ถั่วพู
     - ถั่วฝักยาว
 
 
จัดกระบวนการเรียนรู้
 - เชิญภูมิปัญญาให้ความรู้เรื่องการเพาะพันธุ์ต้นกล้า
   ผักสวนครัว
 - ปฏิบัติจริง
 
ระยะที่ 1  การเตรียมดิน
-   เริ่มต้นสำหรับการเพาะต้นกล้าก็คือ การเตรียมวัสดุสำหรับเพาะต้นกล้า ซึ่งการเลือกวัสดุเพาะต้นกล้าเราควรเลือกวัสดุที่มีความสามารถในการเก็บความชื้นได้ดี มีความโปร่งที่จะช่วยทำให้รากพืชแตกได้ดี ดังนั้นวัสดุที่เลือกส่วนใหญ่จะนิยมใช้วัสดุ  3 ชนิด คือ 
ขุยมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบ ขี้วัว
      1. เตรียมเพาะพันธุ์ต้นกล้า
      2. เตรียมใส่ถุงดำเพื่อแยกต้นกล้า
 
ระยะที่ 2 การปลูก
- หว่านเมล็ดพันธุ์ผักลงในแปลงให้ทั่วและสม่ำเสมอจากนั้นให้นำฟางมาคลุมอย่างบางแล้วลดน้ำให้ชุ่ม
 
ระยะที่ 3 การแยกต้นกล้า
เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 20 วัน ก็ถอนแยกออกไปใส่ในถุงที่เตรียมอนุบาลต้นกล้าและคอยให้ปุ๋ยน้ำทุก ๆ 7 วัน
 
 
๑๕ คน
๑๕ ครัวเรือน
 
 
ทฤษฎีและปฏิบัติ ๓ ชั่วโมง
 
 
 
๑๔
กุมภาพันธ์
๒๕55
 
 
 
 
 
 
 
๑๔
กุมภาพันธ์
๒๕55
 
๒๔
กุมภาพันธ์
๒๕55
 
 
๑.ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
   ๘๔ พรรษาบ้านหนองโพธิ์
(เป็นสถานที่จัดกระบวนการเรียนรู้และเป็นสถานที่ปฏิบัติจริง)
 
ประมาณการค่าใช้จ่าย
1. ขี้เถ้าแกลบ 1 คันรถ 6 ล้อ
( 1 คัน ๆ ละ ๕,๐00 บาท
= ๕,๐00 บาท)
2. ถุงดำเพาะพันธุ์กล้าไม้
( 500 ใบ 250 บาท
= 250 บาท)
3. ค่าเมล็ดพันธุ์ผัก 
(6๐ ซอง ๆ ละ  2๕ บาท
=  1,5๐๐ บาท )
รวม 5,๕๐0 บาท
 
กิจกรรม
(Project)
วิธีการจัด
เป้าหมาย
(Target)
ระยะเวลา
(Period)
สถานที่
(Place)
งบประมาณ
(Budget)
 
 
ระยะที่ 4 การนำจำหน่าย
- การนำพันธุ์กล้าไม้จำหน่ายหลังจากอนุบาลกล้าไม้ประมาณ ๗-๑0 วัน (นับจากวันที่นำต้นกล้าแยกใส่ถุงดำ) ควรให้อาหารเพราะว่าช่วงนี้ต้นกล้าจะเจริญเติบโตดีเพื่อการจำหน่าย
การดูแลรักษา
1.การให้น้ำจะลดน้ำ เช้า-เย็น ให้เพียงพออย่างสม่ำเสมอจะทำให้ผักเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
2.การใส่ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยคอกเพื่อที่จะได้ผักที่ปลอดสารเคมี
3.การป้องกันกำจัดศัตรูพืชควรดูแลรักษาป้องกันโดยใช้สารสมุนไพรที่ชาวบ้านทำขึ้นเอง เช่น ทำจากสะเดา ข่า พริก น้ำส้มควันไม้ เป็นต้น
- ติดตาม/ประเมินผล
 
 
 
๑๔
มีนาคม
๒๕55
 
 
 

 
หมายเหตุ         ทั้ง 3 หลักสูตรนี้ วัสดุ อุปกรณ์ส่วนหนึ่งได้มาจากท้องถิ่นของตำบลศรีนาวา เช่น แกลบดิบ เป็นวัสดุสำคัญของการทำหลักสูตร
หลังจากฤดูการเก็บเกี่ยว ประเพณีสู่ขวัญข้าว ( เดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ ) เสร็จเรียบร้อยแล้วชาวนาจะนำข้าวมาสีเพื่อไว้ใช้กินอยู่ในช่วงลงนาในฤดูกาลต่อไป 
ซึ่งเราจะแกลบมาวัดสุในการทำปุ๋ยชีวภาพ ขี้เถ้าแกลบ ( การทำขี้เถ้าแกลบเนื่องจากชุมชนของเรามีเตาเผาถ่านที่เป็นโรงเรือนสามารถนำแกลบดิบเข้าไป
เผาเพื่อมาใช้ในการเพาะพันธุ์กล้าไม้ในครั้งต่อไปได้ ) เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
 
 
                                                                                                              นายกิตติพงษ์ โพธิเวชกุล หัวหน้า กศน.ตำบลศรีนาวา
                                                                                                                  29 มกราคม 255๕
                                                                                                                            


เข้าชม : 950
 
 
กศน.ตำบลศรีนาวา อำเภอเมืองนครนายก  จังหวัดนครนายก
เบอรโทรศัพท์ครูต้อม  081-7159048  E-mail : kittipong.6805@hotmail.com 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin