[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 


ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน

เสาร์ ที่ 30 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2555

แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ด้านสวนผสมตามโครงการพระราชดำริแนวทฤษฎีใหม่และบัญชีครอบครัว

นายวิรัตน์   นางลำดวน   จีนลักษณ์

 

ความเป็นมาของครอบครัว

                                ครอบครัว “ จีนลักษณ์ ” มีสมาชิก 6 คน โดยมีนายวิรัตน์    จีนลักษณ์ เป็นหัวหน้าครอบครัว

 สมรสกับนางลำดวน  มีบุตร  4 คน มีภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดปทุมธานี ทำงานบริษัทรวมเวลา   20 ปี   

นอกจากทำงานบริษัทยังทำนาควบคู่กันไป   โดยมีที่ดินอยู่ที่ หมู่ที่ 6 ตำบลเกาะโพธิ์ อำเภอปากพลี    จังหวัดนครนายก     ปี พ.ศ. 2538    ได้ย้ายถิ่นฐานและลาออกจากการทำงานเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว     ซึ่งในช่วงแรกทำธุรกิจค้าขาย     ต่อมาจึงมาทำการเกษตรกับครอบครัว     ในปีเดียวกันเข้าร่วมกับการปรับโครงสร้างลดพื้นที่การทำนา ทำไร่นาสวนผสม (คปร.)   ในโครงการพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่     (ใช้สัดส่วน 30 - 30 - 30 - 10 ) ช่วงแรกได้แบ่งทำเพียง 15 ไร่     จากเนื้อที่  29 ไร่      ซึ่งเป็นที่ของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม  

( สปก. )   สืบทอดมาจากบิดาและได้รับพระราชทานเงินทุน จำนวน 5,000 บาท ทำให้เกิดแรงบันดาลใจมุมานะในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ โดยได้เลี้ยงปลา    เลี้ยงกบ ปลูกผักและผลไม้ขาย

เมื่อปี พ.ศ. 2540   ได้ขยายพื้นที่ในการทำเกษตรกรรมเป็น 29 ไร่เต็ม     โดยขุดบ่อเลี้ยงปลา

ขนาดใหญ่ 8 บ่อ เลี้ยงปลาทุกบ่อ นำปลาที่เลี้ยงมาแปรรูปจำหน่ายรวมถึงขายสด และปลูกพืชสวนหลากหลายชนิด   จากรายรับที่ได้หลายทางจึงได้คิดทำบัญชีของครอบครัวสำหรับบันทึก   เพื่อให้สามารถรู้ต้นทุนและผลกำไรในแต่ละเดือน       ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการลงทุนระยะยาวและการวางแผนต่อไป  

 

แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

               นายวิรัตน์   จีนลักษณ์ เป็นตัวอย่างของเกษตรกรที่ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง กินอยู่อย่างประหยัด  

ห่างไกลอบายมุข    เพิ่มพูนประสบการณ์และ แสวงหาความรู้   ใฝ่ใจ หัดสังเกต เรียนรู้ควบคู่การผลิต  

ศึกษาทดลองด้วยตนเองหาวิธีลดต้นทุน ใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก   เพื่อสามารถผลิตแบบพอเพียงแก่

การเลี้ยงชีพ ในระดับหนึ่งแล้วจึงก้าวสู่การผลิตเพื่อจำหน่ายด้วยตนเอง

·       เลี้ยงปลาในบ่อ ต่อมาพัฒนาเลี้ยง     ในกระชัง

·       เลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์

·       ปรับปรุงดินโดยใช้ฟางข้าว เศษใบไม้ ต้นกล้วย ทำปุ๋ยหมัก

·       เลี้ยงปลา และทำปลาแดดเดียว ส่วนหัวปลา ไส้ปลา เกล็ดปลา นำมาทำน้ำหมักชีวภาพ

·       ปลูกไม้ผลหลายชนิด และเก็บขายเช่น มะม่วง มะดัน มะยม กล้วย กระท้อน มะพร้าว ฝรั่ง ผลไม้สุกก็ไม่ทิ้ง นำมาใช้เป็นอาหารปลาและผสมทำน้ำหมักชีวภาพ

·       ทำผลไม้แช่อิ่ม เช่น มะม่วง มะดันมะยม  

·       นำผลผลิต ไปจำหน่ายเอง โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

 

 

 

องค์ความรู้สำคัญของครอบครัวจีนลักษณ์

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่   28 ไร่

ส่วนที่ 1   พื้นที่ปลูกบ้าน

ส่วนที่ 2   ขุดสระเก็บน้ำ

ส่วนที่ 3   ขุดบ่อเลี้ยงปลา      เลี้ยงกบ

ส่วนที่ 4   ปลูกไม้ผล  พืชผักบนคันบ่อ

?   การแปรรูปผลผลิตเพื่อจำหน่าย ผลผลิตที่แปรรูปดได้แก่

·       มะดันแช่อิ่ม/มะดันดอง

·       มะม่วงแช่อิ่ม/มะม่วงดอง

·       มะยมแช่อิ่ม

·       ปลาแดดเดียว

?วิทยากรทำปุ๋ยอินทรีย์ทั้งปุ๋ยประเภทหมักและปุ๋ยประเภทน้ำชีวภาพ

ร่วมอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีทำปุ๋ยหมัก   ปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ในไร่นาทำน้ำหมักชีวภาพ จากผลไม้และเกล็ดปลา หัวปลา และหอยเชอรี่

? เป็นหมอดินอาสา/ประมงอาสา

? การทำบัญชีครอบครัว

การเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ 28 ไร่

 

                  

                      ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง                                                                              ที่อยู่อาศัย                                               

                

เลี้ยงปลาในบ่อดินและในกระชังรวมถึงเลี้ยงกบ                                 ปลูกพืชสวนริมคันบ่อหลากชนิด

                      

ภาพประกอบผู้เข้ามาร่วมศึกษาดูงาน

คณะจากสปก. นำเจ้าหน้าที่ทั่วประเทศร่วมเรียนรู้

ศึกษาดูงาน

 

คณะเจ้าหน้าที่จากระทรวงศึกษาธิการร่วมศึกษาดูงาน

คณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ร่วมศึกษาดูงาน

กลุ่มพัฒนาอาชีพของตำบลหนองแสงของกศน.ปากพลี ร่วมศึกษาดูงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คณะจากกองพัฒ – กองเลขา ร่วมเรียนรู้ศึกษาดูงาน

กลุ่มชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ต.เกาะโพธิ์ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประเภทแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา       


เข้าชม : 1189

ภูมิปัญญาชาวบ้าน 5 อันดับล่าสุด

      แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย 30 / มิ.ย. / 2555
      ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน 30 / มิ.ย. / 2555


กศน.ตำบลเกาะโพธิ์ 
หมู่ที่ 4  ตำบลเกาะโพธิ์  อำเภอปากพลี  จังหวัดนครนายก
โทรศัพท์ 080-5661546 E-mail : ksnkopho@gmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin